กิจกรรม

“ พัฒนาศูนย์พิทักษ์ผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก้าวไปสู่รูปแบบองค์การอิสระผู้บริโภค”

by wanna @March,02 2010 13.49 ( IP : 118...116 ) | Tags : กิจกรรม
photo  , 304x405 pixel , 81,021 bytes.

เมื่อวันที่ 23  กุมภาพันธ์ 2553 สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(สจรส. มอ. )  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  อบต. ท่าข้าม , อบต. ควนรู , เทศบาลตำบลปริก , สสจ. สตูลตัวแทนเทศบาลเมืองสตูล , และภาคประชาชน เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดสตูล  ได้มีการประชุมหารือถึงแนวทางการพัฒนาศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคก้าวไปสู่องค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550  มาตรา 61

ในที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความเห็นถึงแนวทางเบื้องต้นของการพัฒนาองค์การอิสระผู้บริโภค  โดยมีตุ๊กตาสามรูปแบบ  ได้แก่

  1. จะเป็นรูปแบบองค์กรที่ทำงานอยู่ภายใต้สายบังคับบัญชาใน อปท.

2  จะเป็นรุปแบบองค์กร ที่ อปท. สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน โดยงบประมาณอาจจะมาจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น หรือกองทุนสัจจะออมทรัพย์  แหล่งทุนอื่นๆ มีโครงสร้างการบริหารจัดการ โดยมีนายก อปท. , ตัวแทนผู้บริโภค , ปลัด อปท. เป็นเลขาคณะทำงาน
3 จะเป็นรุปแบบองค์กรที่เป็นอิสระจาก อปท.ไม่ขึ้นหรือใต้บังคับบัญชาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ให้เงินสนับสนุนผ่านกองทุนสุขภาพระดับตำบล ในประเด็นคุ้มครองผู้บริโภค

มองดูรูปแบบจำลองแล้วแต่ละรูปแบบมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน รูปแบบที่ 1  อาจจะมีความยั่งยืน เพราะเป็นภาระกิจหนึ่งที่ อปท. ต้องดำเนินการอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้ทางหน่วยงาน เช่น  สสจ. และ สคบ.  ได้ถ่ายโอนภาระกิจด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคมาสู่ อปท.
รูปแบบที่ 2  มีจุดแข็งของการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย การบริหารงานจะมีงบประมาณที่สนับสนุนจาก อปท. หรือแหล่งทุนอื่น โครงสร้างการบริหารจัดการชัดเจน สำหรับรูปแบบที่ 3  อาจจะสอดคล้องกับมาตรา 61 แต่ทั้งนี้โครงสร้างการทำงานก็ต้องเข้มแข็ง การสนับสนุนงบประมาณจากรัฐจะต้องต่อเนื่อง รูปแบบนี้ถึงจะนำร่องไปได้
ภารกิจการทำงานขององค์การอิสระ ในเบื้องต้น คือ 1) การพัฒนาศักยภาพเครือข่าย ทั้งในด้านความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมการรวมกลุ่ม  2) การเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ หรือสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค 3) การประสานงานในเรื่องการรับเรื่องร้องเรียน ไกล่เกลี่ย ชดเชยค่าเสียหาย และ 4) การสื่อสารสาธารณะ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและการดำเนินงานต่างๆ แม้จะเป็นเรื่องใหม่ แต่ก็คงไม่เกินความสามารถของท้องถิ่นไปได้  ที่ในยุคนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าท้องถิ่นคือ พลังสำคัญในการพัฒนาชุมชน

หมายเหตุ : มาตรา 61 สิทธิของบุคคล ซึ่งเป็นผู้บริโภค ย่อมได้รับการคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง