บทความ

ศาสตร์ที่จำเป็นต่องานคุ้มครองผู้บริโภค

by twoseadj @November,22 2010 13.22 ( IP : 202...1 ) | Tags : บทความ

เขียนโดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

            เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการประชุมวิชาการด้านคุ้มครองผู้บริโภค

การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นศาสตร์และศิลปะที่ต้องอาศัยแนวคิดและหลักการในหลายๆด้านมาประกอบกัน แนวคิดสำคัญที่นำมาประยุกต์ใช้  ได้แก่

1.แนวความคิดแบบวิทยาศาสตร์ การแพทย์(Medical  Scientific management Concepts)

2.แนวความคิดแบบระบาดวิทยา(Epidemiology  Concepts)

3.แนวความคิดด้านกระบวนการจัดการ(Management process Concepts)

4.แนวความคิดด้านมนุษย์สัมพันธ์(Human relations Concepts )

5.แนวความคิดด้านระบบสังคม(Social system Concepts)

6.แนวความคิดด้านคณิตศาสตร์ และชีวสถิติ(Mathematical and Biostatistical  Concepts)

7.แนวความคิดด้านระบบ(Systems Concepts)

1.แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์การแพทย์    (Medical Scientific management Concepts)


วิธีการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์  (Medical Scientific Method)เป็นวิธีการที่เป็นระบบระเบียบ อาศัยหลักเหตุผลและมีความสอดคล้องกันระหว่างทฤษฎี และ กฏเกณฑ์ต่างๆ  การหาเหตุผลใช้วิธีการทางตรรกศาสตร์ทั้งการอนุมาน และ การอุปมาน และทดสอบหาความจริงหลาย ๆ ครั้งจนแน่ใจแล้วจึงสรุปผล    เป็นวิธีที่เชื่อถือได้ ความรู้ที่ได้เป็นความรู้ที่แน่นอนถูกต้องเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป
วิธีการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์  มักจะประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

1)การตรวจสอบและการให้นิยามปัญหา
2)การตั้งสมมติฐาน
3)การรวบรวมข้อมูลจัดระเบียบและวิเคราะห์ข้อมูล
4)การสรุปผล
5)การยอมรับหรือปฏิเสธ หรือต้องปรับสมมติฐานใหม่

2.แนวความคิดทางระบาดวิทยา (Epidemiology  Concepts)

แนวคิดทางระบาดวิทยามีความสำคัญและจำเป็นมากต่อทั้งงานการสาธารณสุขและงานในสาขาอื่น ๆ  เพราะศาสตร์ทางระบาดวิทยา    จะช่วยให้ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องทางการสาธารณสุข  ทราบถึงองค์ประกอบที่เสี่ยงต่อ

 คำอธิบายภาพ : pic4ceb20e598dff

การเกิดโรค (risk factors) ในโรคที่พบใหม่หรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุ  ตลอดจนช่วยให้สามารถสืบสวนถึงสาเหตุของการระบาดแหล่งแพร่เชื้อ และวิธีการแพร่เชื้อ  ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถกำหนดแนวทางในการส่งเสริม ป้องกัน ควบคุมโรค และแนวทางการรักษา และเมื่อมีการเกิดโรคขึ้น ความรู้ทางระบาดวิทยาจะช่วยให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในงานด้านนี้ สามารถแบ่งแยกหรือจัดกลุ่มของโรคได้ถูกต้อง    นอกจากนั้น ระบาดวิทยา ยังมีประโยชน์ในการนำมาใช้เป็นหลักในการสำรวจอนามัยของชุมชน การวินิจฉัยอนามัยชุมชน การวางแผนแก้ไขปัญหาอนามัยชุมชน    ตลอดจนการประเมินผลอนามัยของชุมชน  โดยหลักการเดียวกันนี้สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งด้านการบริหาร และด้านอื่นๆ  หลักและวิธีการทางระบาดวิทยา ยังเป็นประโยชน์ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์    โดยจะช่วยให้การวิจัยนั้นมีความถูกต้องสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ศาสตร์ทางระบาดวิทยาที่เกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วย

1.องค์ความรู้(Body of Knowledge)ต่อไปนี้

  • หลักการของระบาดวิทยา (Principle of  Epidemiology)

  • ความรู้เกี่ยวกับ ธรรมชาติของการเกิดโรค  ( Natural history of disease )

  • แนวคิดเกี่ยวกับสาเหตุ  ( Concept of causation )

  • แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ( Concept of association )

-ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรค, ปัจจัยเสี่ยง    (Variable and risk factors )

2.ระเบียบวิธีการศึกษาทางระบาดวิทยา (Methodology) ต่อไปนี้

  • รูปแบบการศึกษาทางด้านระบาดวิทยา  ( Epidemiological investigative designs )

  • เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาทางระบาดวิทยา เช่น rate  ratio  Life-table

  • สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ สถิติพรรณนา  และ สถิติทดสอบต่างๆ

  • วิธีการที่ใช้ในการศึกษาทางระบาด  เช่น การสอบสวน ทางระบาด  การเฝ้าระวัง  และการติดตามกำกับ

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้แนวคิดทางระบาดวิทยากับการบริหารจัดการ เช่น
-แนวคิดทางระบาดวิทยาในภาวะปกติปัจจัยสมุฏฐาน(disease agent)ลักษณะของบุคคล( Host )และสิ่งแวดล้อม(Environment) จะอยู่ในภาวะสมดุลและการที่ปัจจัยสมุฏฐาน(disease agent) จะแสดงผลของมันแตกต่างกันนั้นขึ้นกับลักษณะของบุคคล( Host ) รวมทั้งลักษณะทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมทั้งทางสังคมและทางชีววิทยา  นอกจากนี้ ณ สมดุลหนึ่ง หากเวลา( Times) สถานที่ (Places) หรือ บุคคล(Persons)แตกต่างไป ก็จะทำให้สมดุลเปลี่ยนไปได้

 คำอธิบายภาพ : pic4ceb210554646

-แนวคิดทางการบริหารจัดการ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กร ทำให้สมดุลขององค์กรเปลี่ยน ประกอบด้วย คน ( Staff = Host ) ทรัพยากร(  Resource = agent)  และ สิ่งแวดล้อม (Environment)ซึ่งรวมทั้งสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร  และวิธีการบริหารไม่มีสูตรสำเร็จ      หากเวลา( Times) สถานที่ (Places) หรือ บุคคล(Persons)แตกต่างไป  การบริหารจัดการก็อาจจะแตกต่างออกไป

-แนวคิดทางระบาดวิทยาวิธีการกระจายของโรคที่เกิดขึ้นในคนประกอบด้วยวิธีการหาความแตกต่าง(Method of Difference)วิธีการหาข้อตกลงร่วมกัน(Method of Agreement) วิธีการหาความผันแปรซึ่งควบคู่กัน(Method of Concomitant Variation)และวิธีการหาความคล้ายคลึงกัน(Method of Analogy)

แนวคิดทางการบริหารจัดการสามารถประยุกต์ใช้ทั้งวิธีการหาความแตกต่าง(Method of Difference)วิธีการหาข้อตกลงร่วมกัน(Method of Agreement)วิธีการหาความผันแปรซึ่งควบคู่กัน(Method of Concomitant Variation)และวิธีการหาความคล้ายคลึงกัน(Method of Analogy)ในการหาปัจจัย ความสัมพันธ์ ประกอบการตัดสินใจทางการบริหารจัดการได้  และวิธีการดังกล่าวเป็นแนวทางที่ใช้ในการบริหารสาธารณสุขในปัจจุบันด้วย

2.แนวคิดด้านการจัดการเป็นกระบวนการจัดการ

ตัวแบบการจัดการ เป็นการตอบคำถาม 4 ข้อหลักดังนี้

1) ปัจจุบันเราอยู่ที่ไหน  หมายถึง การรู้สถานการณ์สุขภาวะในปัจจุบัน

2) อนาคตต้องการไปที่ใด หมายถึง การวางจุดหมาย เป้าหมายของสุขภาวะที่ต้องการ

3) ทำอย่างไรจึงจะไปถึงจุดนั้น  หมายถึงการกำหนดยุทธวิธี การดำเนินการ

4) เราไปถึงหรือไม่  หมายถึงการติดตามประเมินผล

3.แนวคิดด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Human relations Concepts )

จากแนวคิดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและกำหนดให้คนเป็นปัจจัยชี้ขาดความสำเร็จของการพัฒนาในทุกเรื่อง  การพัฒนาสุขภาพของคนนับเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของคนดังนั้น  การพัฒนาการสาธารณสุขจึงมีส่วนสำคัญยิ่งต่อ

 คำอธิบายภาพ : pic4ceb21621b949

การพัฒนาคน  ทำนองเดียวกันในการบริหารจัดการ คน จะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการผลักดันให้องค์กรประสบความสำเร็จ แนวคิดเกี่ยวกับคนในด้านการบริหารจัดการ จึงจำเป็นต้องศึกษาเรื่องราวของคนและปฏิกิริยาของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นส่วนสำคัญ  ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนในองค์กรได้แก่ แรงจูงใจ (Motivations) แรงขับของบุคคล (individual drives) กลุ่มสัมพันธ์ (Group relations) การเป็นผู้นำ (Leaderships) และกลุ่มพลวัต (Group dynamics) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนภายนอกองค์กรได้แก่ พฤติกรรมสุขภาพ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์มีบทบาทสำคัญในการจัดการทุกองค์การทั้งนี้เนื่องจากว่าองค์การคือการที่บุคคลมารวมตัวเป็นกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน  ฉะนั้นกิจกรรมที่ทำจะประสบความสำเร็จนั้น คนจึงควรเข้าใจคน (people should understand people)

4. แนวคิดด้านระบบสังคม (Social system Concepts)

แนวความคิดด้านระบบสังคม ที่ใช้ในการบริหารด้านคุ้มครองผู้บริโภค จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้ 1)คุณลักษณะสังคมของบุคคล (Social identity) 2)โครงสร้างสังคม ( Social structure ) 3)การจัดระเบียบสังคม ( Social organization ) 4)สถาบันสังคม ( Social institution ) 5)กระบวนการทางสังคม ( Social process )

นอกจากนี้ต้องเข้าใจบทบาทของปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมที่มีผลต่อสุขภาพ  อันได้แก่ - บทบาทปกป้องคุ้มครอง(Protective role) - บทบาทส่งเสริม( Supportive role, promotive role) - บทบาทขัดขวางหรือทำลาย( Disruptive role ) - บทบาทเป็นกลาง( Neutral role )

5.แนวความคิดด้านคณิตศาสตร์ และชีวสถิติ(Mathematical and Biostatistical  Concepts)

แนวความคิดด้านคณิตศาสตร์ และชีวสถิติ เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เก็บรวบรวมข้อมูล นำมาวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจในการบริหารจัดการ  การใช้วิธีการทางปริมาณนี้จะมีประโยชน์ในการแก้ปัญหาด้านกายภาพของการจัดการ (physical problems of management) นอกจากนี้การใช้หลักชีวสถิติจะเป็นศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ที่มีความเกี่ยวข้องอยู่กับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของแต่ละบุคคล และชุมชน จึงนับเป็นวิชาการที่สำคัญสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการวิจัย การวินิจฉัย รักษา ป้องกันและควบคุมโรค หรือปัญหาอนามัยต่างๆ เพื่อมุ่งให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอยู่ร่วมกันในสังคมได้ด้วยดี

6.แนวคิดด้านระบบ (Systems Concepts)

ระบบ คือ สถานะ การดำรงอยู่โดยรวม  ซึ่งการดำรงอยู่นั้นเกิดจากองค์ประกอบย่อยต่างๆ ที่ทำหน้าที่และมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างเป็นพลวัต

ระบบมีลักษณะดังนี้

1.สถานะ การดำรงอยู่ของระบบใดระบบหนึ่ง เป็นไปเพื่อจัดการหรือทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง

2.องค์ประกอบย่อยแต่ละองค์ประกอบมีหน้าที่ของตนเอง

3.องค์ประกอบย่อยแต่ละองค์ประกอบมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยเชิงโครงสร้างหรือเชิงหน้าที่ หรืออาจจะเชิงสาระ

4.เมื่อองค์ประกอบย่อยใดเกิดการเปลี่ยนแปลง จะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบย่อยอื่นๆ มากน้อยขึ้นกับ ขนาดของปฏิสัมพันธ์ ทั้งนี้เพื่อทำให้การดำรงอยู่โดยรวมยังคงอยู่หรืออาจจะเป็นไปเพื่อการเปลี่ยนแปลงสถานะการดำรงอยู่โดยรวม
5.การเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตหมายถึงการปรับตัวทั้งเชิงโครงสร้างเชิงหน้าที่หรือเชิงพฤติกรรม

การคิดและเขียนภาพเชิงระบบ มี 2 วิธีหลัก

1.การคิดเชิงโครงสร้างหน้าที่

การคิดแบบนี้มักเป็นการนำเอาองค์ประกอบย่อยที่มีอยู่หลายๆองค์ประกอบย่อยมาประกอบเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบเป็นองค์รวม เป็นการคิดที่ไม่ซับซ้อนมาก (Detail Complexity)  เห็นโครงสร้างและปฏิสัมพันธ์ตามหน้าที่ เป็นเหมือนการต่อจิกซอร์จากชิ้นเล็กๆเป็นภาพใหญ่

2.การคิดเชิงเนื้อหาสาระ
การคิดแบบนี้เป็นการคิดแบบซับซ้อนเชิงพลวัต (Dynamic Complexity) มองปฏิสัมพันธ์ในเชิงเนื้อหา สาระ เพื่อไปกำหนดพฤติกรรม แล้วจึงกำหนดโครงสร้าง การคิดแบบนี้มีความซับซ้อนมากเพราะองค์ประกอบย่อยแต่ละองค์ประกอบมีความสัมพันธ์ต่อองค์ประกอบอื่นๆ ในหลายรูปแบบ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เล็กและมีองค์ประกอบน้อยกว่าไม่ได้หมายความว่าจะมีความซับซ้อนไม่มาก  หากแต่ขึ้นกับระดับของความซับซ้อนในเชิงพลวัตและปฏิสัมพันธ์ย่อยๆของแต่ละองค์ประกอบ

การคิดเชิงระบบ จำเป็นต้องใช้ ทรรศนะ(Perpectives)ใหม่

ในขณะที่วิวัฒนาการในด้านต่างๆของโลกก้าวไปอย่างรวดเร็ว ปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆมีความซับซ้อนมากขึ้น การมองภาพเชิงระบบจำเป็นต้องใช้มุมมองที่หลากหลาย ต้องมองกว้างและลึกขึ้น โดยปกติการคิดเชิงระบบจะเป็นการมองผ่านประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องของคนใดคนหนึ่ง ทำให้ได้ภาพเชิงระบบที่ไม่ครบถ้วน กระบวนการที่จะได้มาซึ่งมุมมองหลายมุมมอง จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ได้ภาพรวมที่ครบถ้วนเท่าที่จะเป็นไปได้

มุมมองในที่นี้คือ ทรรศนะ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่:-

1)มุมมองที่เป็นภววิสัย (Objective View)  คือ การมองระบบจากภายนอกระบบ

2)มุมมองที่เป็นอัตวิสัย (Subjective View) คือ การมองระบบจากภายในระบบ

นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งได้เป็น การมองจากมุมมองของตนเอง และการมองด้วยมุมมองของผู้อื่น

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง