อื่น ๆ

การประชุมเชิงปฏิบัติการบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวตกรรม ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความมั่นคงอาหารจังหวัดสงขลา

by wanna @July,30 2014 14.04 ( IP : 202...1 ) | Tags : อื่น ๆ , กิจกรรม
  • photo  , 640x857 pixel , 71,378 bytes.
  • photo  , 640x857 pixel , 62,089 bytes.
  • photo  , 640x478 pixel , 45,117 bytes.

เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประจำภูมิภาคภาคใต้  ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงอาหารจังหวัดสงขลา
โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายส่วน ทั้งส่วนราชการจังหวัดสงขลา เกษตรกร และนักวิชาการ
ภายในงานมีการนำเสนอกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย
โดยคุณชายกร สินธุสัย  ซึ่งกรอบยุทธศาสตร์ด้านอาหารของประเทศไทยมีประโยชน์ในด้านการเป็นข้อมูลด้านอาหาร ที่มีการรวมรวมมาจากในต่างประเทศและต่างประเทศ เป็นแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน และส่งเสริมให้มีการวิจัยด้านอาหาร
นอกจากนี้ยังได้มีการนำเสนอกรอบแนวคิดร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา
โดย ผศ.ดร. พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ประธานคณะทำงานร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา
โดยสรุปร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา คือ การบูรณาการการทำงานด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และด้านโภชนาการ
ซึ่งยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลาจะมองทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับครัวเรือน ระดับชุมชน และระดับจังหวัด
โดยได้วางจุดหมายระยะยาว  คือ
• จังหวัดสงขลาเป็นแหล่งอาหารให้กับภูมิภาคอาเซียน นำไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของสงขลา

• คนสงขลาสามารถพึ่งตนเองในด้านการมีแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งระดับครัวเรือน และชุมชน

• อาหารที่ผลิตและมีการบริโภคในจังหวัดสงขลา เป็นอาหารที่มีคุณภาพ มาตรฐาน มีความปลอดภัย

• คนสงขลาทุกช่วงวัย รู้ เข้าใจ และได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่มีความเหมาะสมกับวัย

• มีการอนุรักษ์ พัฒนาต่อยอด วัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านและสมุนไพร และขยายผลทางด้านเศรษฐกิจ

• คนสงขลามีอธิปไตยและสิทธิชุมชน ในการปกป้อง อนุรักษ์ และพัฒนาฐานทรัพยากรทางอาหาร

• คนสงขลาทุกชนชั้น ได้รับการกระจายอาหารที่เป็นธรรม

และในช่วงบ่ายได้มีการแบ่งกลุ่มย่อย ออกเป็น 4 กลุ่ม 4 ประเด็น ได้แก่ 1) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว 2) การจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร 3) การผลิตปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการเพาะปลูกให้เกษตรกร
และ4) การเพิ่มมูลค่าและความปลอดภัยของอาหารแปรรูป โดยเฉพาะประเด็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว
มีความน่าสนใจอย่างมาก โดยตัวแทนเกษตรกรได้ให้ข้อมูลว่า การทำนาในปัจจุบันมีปัญหาอยู่ประมาณ 6 เรื่องด้วยกัน คือ
1. องค์ความรู้เรื่องการเตรียมดิน ชาวนาขาดความรู้ ซึ่งการเตรียมดินที่ดีควรต้องทำเทือกให้มีความลึกระดับเข่า
ซึ่งจะทำให้ข้าวหยั่งรากได้ดี

2. เมล็ดพันธุ์ ส่วนใหญ่ชาวนาซื้อเมล็ดพันธุ์จากต่างจังหวัด ราคาอยู่ที่ 25 กิโลกรัม 570 บาท<br />

แต่การซื้อเมล็ดพันธุ์จากต่างจังหวัด พบวัชพืชรวมอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อหว่านลงในนา ข้าวกับหญ้าก็จะโตพร้อมกัน
ทำให้เกษตรกรใช้ยาฆ่าหญ้า และยังพบว่า การจะทำให้ได้ผลผลิตดี การใช้เมล็ดพันธุ์ในการทำนา
ควรใช้ประมาณ 10-15 กิโลกรัมต่อไร่

3. วิธีการใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพ&nbsp; ชาวนายังขาดความรู้การใช้ปุ๋ยให้เหมาะกับช่วงเวลา

4. ข้าวเมื่อผ่านการสีเป็นข้าวสาร พบว่ามีข้าวหักสูง ซึ่งนักวิชาการข้าวที่อยู่ในกลุ่มได้ให้ข้อมูลว่ากระบวนการสีข้าว<br />

น่าจะเป็นปัญหา  ซึ่งปัญหาข้าวหักเกิดจากเครื่องจักร ความชื้นของข้าว (ข้าวยิ่งแห้ง ยิ่งหัก) และความรู้ของคน
ที่ต้องมีความรู้ในการปรับเครื่องจักรในขณะสีข้าว

5. ศัตรูพืช เช่น หนู นก แมลงสิง&nbsp; แต่ที่เป็นศัตรูข้าวในจังหวัดสงขลาส่วนใหญ่ คือ แมลงสิง

และในกลุ่มย่อยได้แลกเปลี่ยนสถานการณ์ของการปลูกข้าวว่า จากการที่รัฐบาลมีนโยบายรับจำนำข้าว<br />

ทำให้ชาวนามีการปลูกข้าวอายุสั้น โดยให้ผลผลิตประมาณ 90 วัน ซึ่งในขณะนี้กรมการข้าวไม่สนับสนุนให้ชาวนาปลูก
เพราะเป็นการได้ข้าวที่ไม่มีคุณภาพมาขายให้กับผู้บริโภค และเป็นการทำลายโครงสร้างของดิน
และวิทยากรในกลุ่มได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าในขณะนี้มีเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้ชาวนาทำนาได้ถูกหลักวิชาการมากขึ้น
เช่น หากต้องการตรวจคุณภาพดิน ชาวนาสามารถถ่ายรูปใบข้าวแล้วส่งข้อมูลเข้าสู่โปรแกรมของกระทรวงวิทยาศาสตร์
และการตรวจหาสารพันธุกรรมข้าว ชาวนาสามารถขอจด TI ได้ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เช่นกัน
สำหรับการเพิ่มมูลค่าของข้าวพื้นเมือง ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้ถูกส่งเสริมในเชิงพาณิชย์มากนัก
ดังนั้นชาวนาหรือนักวิชาการต้องเสนอเรื่องราวหรือคุณค่าของข้าวพื้นบ้านแต่ละชนิดออกมา
ซึ่งข้าวพื้นบ้านหลายชนิดมีคุณค่าทางโภชนาการสูงถือได้ว่าเป็นจุดแข็งของข้าว
และตอบสนองความต้องการของคนรักสุขภาพ

สิ่งที่จะเดินหน้าต่อไปของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ คือ การทำแปลงพัฒนาเมล็ดพันธุ์ข้าวในพื้นที่ตำบลท่าหิน<br />

อ.สทิงพระ จ. สงขลา  ซึ่งจะเป็นพื้นที่นำร่องในการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ข้าวในภาคใต้ต่อไป

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง