ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

มติบอร์ด "สปสช." ไม่ขยาย ม.41 ชี้ทำงานซ้ำซ้อนกับร่าง กม.ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาฯ

by twoseadj @September,14 2010 09.02 ( IP : 124...187 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 640x279 pixel , 31,258 bytes.

จากกรณีสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป(รพศ./รพท.) และผู้แทนแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขทุกสังกัด จำนวน 80 คนมีมติขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สธ.ในฐานะคณะกรรมการบริการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ดสปสช.)ดำเนินการขยายมาตรา 41 ของพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ให้ครอบคลุมการจ่ายเงินชดเชยเบื้องต้นกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการรับบริการสาธารณสุขทุกคนทุกสิทธิ ในระหว่างที่ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... ยังไม่มีผลบังคับใช้นั้น


ความคืบหน้าล่าสุด ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่  13 กันยายน เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการแก้มาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ให้ครอบคลุมผู้ป่วยบัตรทอง ผู้ป่วยประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ  โดยมติ บอร์ด สปสช.ลงความเห็นไม่ขยายม.41 เนื่องจากเป็นการทำงานซ้ำซ้อนกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ซึ่งอยู่ในวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร


นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในฐานประธาน อร์ดสปสช. แถลงว่า  จากกรณีที่นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขขอให้บอร์ดสปสช.พิจารณาแก้ไข พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพฯ  โดยเฉพาะมาตรา 41 ที่กำหนดเกี่ยวกับการจ่ายชดเชยเบื้องต้นให้กับผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เพื่อจะนำสู่การขยายการคุ้มครองในกรณีผู้เสียหายจากการรับบริการด้านการแพทย์ที่ใช้สิทธิประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการนั้น ที่ประชุมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องแก้มาตรา 41  เพราะขณะนี้มีร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจาการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ....เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว โดยร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมีหลักการและคลอบคลุมประเด็นการให้ความช่วยเหลือมากกว่าการแก้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ


นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นที่นพ.เอื้อชาติ ขอให้บอร์ดสปสช. เสนอให้แก้ไขข้อบังคับของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ให้ครอบคลุมการช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสุขภาพทั้งสิทธิประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการ หากไม่สามารถแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ทั้งฉบับ โดยเฉพาะการแก้มาตรา 41  นั้น ที่ประชุมเห็นว่า การออกหรือปรับปรุงข้อบังคับสปสช.ให้ครอบคลุมการช่วยเหลือผู้ป่วยทุกสิทธิการรักษาพยาบาลนั้น ยังมีปัญหาข้อกฎหมายว่าสามารถทำได้หรือไม่ ทางที่ดีที่สุดควรรอการพิจารณาของร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายฯ และหากมีข้อถกเถียงอย่างไรให้ไปหารือกันในขั้นกรรมาธิการสภาฯ


“การจะดำเนินการขยายมาตรา 41 ให้ครอบคลุมประชาชนทุกสิทธิการรักษาพยาบาลนั้น จะต้องแก้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ บอร์ดจึงเห็นว่าหากเสนอให้มีการแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ ขณะที่มีกฎหมายลักษณะนี้และครอบคลุมเนื้อหาสาระกว้างกว่าอยู่ในระหว่างการรอพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรอยู่แล้ว จะเป็นการซ้ำซ้อน และการดำเนินการแก้พ.ร.บ.จะล้าช้ากว่าการออก พ.ร.บ.ใหม่ที่รอสภาฯพิจารณากว่ามาก เพราะเท่ากับต้องไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่”นายจุรินทร์ กล่าว


นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ในมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ  กำหนดไว้ชัดเจนว่าจะให้ความช่วยเหลือเยียวยาเบื้องต้นได้เฉพาะผู้ป่วยที่เกิดความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขในหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น จะไม่ครอบคลุมสถานพยาบาลเอกชน ดังนั้น หากจะขยายมาตรา 41 ก็จะต้องเริ่มจากการแก้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯในส่วนของหน่วยบริการให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชน ก่อนจึงจะนำมาสู่การแก้ข้อบังคับสปสช.ไม่ครอบคลุมผู้ถือสิทธิประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการได้ ซึ่งจะยุ่งยาก ขณะที่ ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ มีประเด็นที่ครอบคลุมกว่าการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 คือ การช่วยเหลือคุ้มครองแพทย์ไม่ให้ถูกฟ้องร้องทางแพ่ง ซึ่งมาตรา 41 ไม่มีเรื่องนี้

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง