โครงการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารเพื่อสุขภาพประชุาชนจังหวัดสงขลา

แผนงานบริหารจัดการ

by dezine @March,15 2016 12.15 ( IP : 202...116 )
รายละเอียดโครงการ
ข้อตกลงเลขที่ 59-00-0161
รหัสโครงการ 59-00188
ชื่อโครงการ โครงการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารเพื่อสุขภาพประชุาชนจังหวัดสงขลา
ชุดโครงการ แผนงานบริหารจัดการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2559 - 30 มกราคม 2560
งบประมาณ 0.00 บาท
พี่เลี้ยงติดตามสนับสนุนโครงการ
  • wannawanna(Trainer)
  • hamidahamida(Owner)
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม/โครงการ

 

กิจกรรมสำคัญ

 

กลุ่มเป้าหมาย

 

พื้นที่ดำเนินการ
สถานภาพโครงการ กำลังดำเนินโครงการ

วันที่ - เวลากิจกรรม - รายละเอียด
24 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยhamidahamidaเมื่อ 7 มีนาคม 2560 09:02:20
Project owner
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 29 พฤษภาคม 2560 15:35:38 น.

ชื่อกิจกรรม : โครงการจันทบุรีโมเดลดูงานโครงการความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลา

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

คุณภาพกิจกรรม : 3

วัตถุประสงค์

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำโครงการความมั่นคงทางอาหารในจังหวัดสงขลา และจังหวัดจันทบุรี

กิจกรรมตามแผน

โครงการจันทบุรีโมเดลภายใต้โครงการความมั่นคงทางอาหารจังหวัดจันทบุรี จำนวน 60 คน ร่วมเรียนรู้ศึกษาดูงานการจัดการความมั่นคงทางอาหารที่ ต.ควนรู อ.รัตภูมิ ร้านครัวใต้โหนด และตลาดเกษตร ม.อ. เพื่อนำไปปรับใช้ต่อไป

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

โครงการจันทบุรีโมเดลภายใต้โครงการความมั่นคงทางอาหารจังหวัดจันทบุรี จำนวน 60 คน ร่วมเรียนรู้ศึกษาดูงานการจัดการความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลา จำนวน 3 แห่ง คือ

  1. ต.ควนรู อ.รัตภูมิ ร่วมเรียนรู้เรื่องการทำธนาคารข้าว ธนาคารเมล็ดพันธ์ โรงสีข้าวชุมชน และศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

  2. ร้านครัวใต้โหนด ร่วมเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการร้านครัวใต้โหนด กระบวนการผลิตอาหารส่งให้ร้านอาหาร ซึ่งผลิตเอง ปลูกเอง เก็บจากธรรมชาติและส่งขาย บทบาทของร้านครัวใต้โหนด ผลักดันให้เกิดเครือข่ายความมั่นคงทางอาหารและช่วยเหลือเฝ้าระวังเรื่องภัยพิบัติ

  3. ตลาดเกษตร ม.อ. เรียนรู้การบริหารจัดการตลาดเกษตร การสร้างเครือข่ายเกษตรกร กระบวนการตรวจสอบสินค้าที่นำมาขายในตลาด และเดินชมสินค้าในตลาด

ผลตามแผน

  • ทีมโครงการจันทบุรีโมเดลได้เรียนรู้เรื่องการสร้างความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ และสามารถนำกลับไปปรับใช้ในพื้นที่ได้

ผลที่เกิดขึ้นจริง

  • ทีมโครงการจันทบุรี ได้เรียนรู้ธนาคารข้าวควนรู แลกเปลี่ยนเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าว การทำโรงสีข้าวชุมชน การ เน้นการผลิตข้าวให้พอเพียงเลี้ยงคนในตำบลได้ และต้องสร้างแหล่งเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในชุมชนให้ได้ อย่างที่ ต.ควนรู เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้เกิดขึ้น
  • เรียนรู้การจัดทำร้านอาหารและตลาดเกษตรที่ปลอดภัย เรียนรู้ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตวัตถุดิบ การเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และการจัดทำตลาดให้เกิดความเชื่อใจของผู้ซื้อ สิ่งเหล่านี้คือการเรียนรู้ของเครือข่ายจันทบุรีโมเดล

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
22 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยhamidahamidaเมื่อ 7 มีนาคม 2560 08:45:29
Project owner
แก้ไขโดย hamida เมื่อ 7 มีนาคม 2560 08:57:56 น.

ชื่อกิจกรรม : ตรวจรายงานกิจกรรม และเอกสารการเงิน โครงการย่อย

คุณภาพกิจกรรม : 3

วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

กิจกรรมตามแผน

  • ตรวจรายงานกิจกรรมในเว็บไซต์และรายงานการเงินของแต่ละโครงการ

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

  • ตรวจรายงานกิจกรรมในเว็บไซต์และรายงานการเงินของแต่ละโครงการ

ผลตามแผน

รายงานกิจกรรมในเว็บไซต์และเอกสารการเงินทุกกิจกรรมเรียบร้อย สามารถจัดทำรายงานปิดโครงการได้

ผลที่เกิดขึ้นจริง

  • มีโครงการนำเอกสารการเงินมาให้ตรวจสอบความถูกต้อง จำนวน 4 พื้นที่ คือ ต.รัตภูมิ ต.ควนรู ต.เชิงแส และ ต.สิงหนคร
  • ผลการตรวจรายงานกิจกรรมและเอกสารการเงิน มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
  1. โครงการที่มีเงินคงเหลือ ให้ทำกิจกรรมต่อให้เสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 60 และเพิ่มค่าใช้จ่ายกิจกรรมบริหารจัดการในโครงการ (ค่าตอบแทนคนทำรายงาน ค่าประสานงาน และค่าจ้างเจ้าหน้าที่จัดประชุม
  2. แก้ไขเอกสารการเงินตามคำแนะนำของ สจรส.
  3. รายงานกิจกรรม ให้เพิ่มข้อมูลกิจกรรมที่ปฏิบัติจริง เขียนให้เห็นกระบวนการ และข้อมูลผลที่เกิดขึ้นจริงต้องมีข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
17 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยwannawannaเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2560 13:20:09
Project trainer
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2560 13:24:37 น.

ชื่อกิจกรรม : การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการสมวัยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  • photo การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการสมวัยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการสมวัยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • photo การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการสมวัยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการสมวัยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • photo การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการสมวัยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการสมวัยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • photo การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการสมวัยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการสมวัยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

คุณภาพกิจกรรม : 3

วัตถุประสงค์

1.เพื่อพัฒนาโครงการ กิจกรรมด้านอาหารและโภชนาการให้เป็นประเด็นหนึ่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดสงขลา

2 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความรู้และเข้าใจประเด็นด้านอาหารและโภชนาการ

กิจกรรมตามแผน

1.ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการ การบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการสมวัยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหารท้องถิ่น ได้แก่นายก อปท. ปลัด เจ้าหน้ากองการศึกษา กองสาธารณสุข ครูผู้ดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

2 หลักการ แนวคิดร่างการเขียนโครงการการบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการสมวัย โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ  สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

3 แนวทางการเสนอโครงการการจัดการด้านอาหารและโภชนาการในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

1.ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการ การบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการสมวัยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหารท้องถิ่น ได้แก่นายก อปท. ปลัด เจ้าหน้ากองการศึกษา กองสาธารณสุข ครูผู้ดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 170 คน กลุ่ม 1 อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี
1. ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ 2. ปลัดกิติพัฒน์ หนูมี อบต. ควนโส / พี่เลี้ยง สปสช. 3. คุณดวงใจ อ่อนแก้ว เทศบาลเมืองควนลัง / พี่เลี้ยง สปสช. 4. คุณอาหมัด หลีขาหลี พี่เลี้ยง สปสช. 5. คุณอุสมาน หวังสนิ พี่เลี้ยง สปสช. 6. คุณอมิตตา ประกอบชัยชนะ อบต.ควนรู/ คณะทำงานจังหวัดสงขลา 7. คุณพิพัฒน์พงค์ แก้วสุวรรณ อบต. ควนรู/ คณะทำงานจังหวัด

กลุ่ม 2 อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอบางกล่ำ
1. ดร.เพ็ญ สุขมาก สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ 2. คุณสกุลศิริ สกุลสงคราม เทศบาลตำบลท่าช้าง / พี่เลี้ยง สปสช. 3. คุณวารียา บิลตาลี เทศบาลตำบลท่าช้าง / พี่เลี้ยง สปสช. 4. คุณสุดา นิยมเดชา รพ.สต.ฉลุง / พี่เลี้ยง สปสช. 5. คุณอนัญญา แก้วปฏิมา เทศบาลเมืองสิงหนคร / พี่เลี้ยง สปสช. 6. คุณอารีย์ สุวรรณชาตรี พี่เลี้ยง สปสช. 7. คุณพัชรนันท์ วรรณพิบูลย์ เทศบาลเมืองสิงหนคร / คณะทำงานจังหวัดสงขลา

กลุ่ม 3 อำเภอนาหม่อม อำเภอสะเดา อำเภอคลองหอยโข่ง 1. ผศ.ดร. พงค์เทพ  สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ 2. ภก.สมชาย ละอองพันธุ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 12 สงขลา 3. คุณจำรัส หวังมณีย์ พี่เลี้ยง สปสช. 4. คุณดวงดาว อุปสิทธิ์ พี่เลี้ยง สปสช. 5. คุณยุทธศิลป์ พิตรพิบูลย์พันธุ์ เทศบาลเมืองคลองแห / คณะทำงานจังหวัดสงขลา
6. คุณบุญทิตยา แก้วมัน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา / คณะทำงานจังหวัดสงขลา 7. คุณสำลี สถิตย์ภมิ สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น / คณะทำงานจังหวัด 8. คุณปรีดา รักษ์ทอง เทศบาลตำบลทุ่งลาน / คณะทำงานจังหวัด

ผลตามแผน

เกิดการปรับปรุงโครงการให้ครอบคลุมประเด็นด้านอาหารและโภชนาการ ซึ่งส่วนใหญ่จะดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายที่เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ผลที่เกิดขึ้นจริง

บุคลากรขององค์กรปกครองจำนวน 60 แห่ง จำนวนผู้เข้าร่วม 1ุ60 คน ซึ่งกระบวนการในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำโครงการระบบอาหารและโภชนาการที่ครอบคลุมทั้งเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
16 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยwannawannaเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2560 11:34:12
Project trainer
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 29 พฤษภาคม 2560 15:13:47 น.

ชื่อกิจกรรม : การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการสมวัยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

คุณภาพกิจกรรม : 3

วัตถุประสงค์

1.เพื่อพัฒนาโครงการ กิจกรรมด้านอาหารและโภชนาการให้เป็นประเด็นหนึ่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดสงขลา

2 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความรู้และเข้าใจประเด็นด้านอาหารและโภชนาการ

กิจกรรมตามแผน

1.ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการ การบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการสมวัยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหารท้องถิ่น ได้แก่นายก อปท. ปลัด เจ้าหน้ากองการศึกษา กองสาธารณสุข ครูผู้ดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

2 หลักการ แนวคิดร่างการเขียนโครงการการบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการสมวัย โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ  สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

3 แนวทางการเสนอโครงการการจัดการด้านอาหารและโภชนาการในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

1.ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการ การบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการสมวัยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหารท้องถิ่น ได้แก่นายก อปท. ปลัด เจ้าหน้ากองการศึกษา กองสาธารณสุข ครูผู้ดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 170 คน

2.แบ่งกลุ่มเพื่อพัฒนาโครงการ โดยมีพี่เลียงประจำกลุ่ม กลุ่ม 1 อำเภอระโนด อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสทิงพระ
1. ผศ.ดร. พงค์เทพ  สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ 2. ภก.สมชาย ละอองพันธุ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 12 สงขลา 3. คุณจำรัส หวังมณีย์ พี่เลี้ยง สปสช. 4. คุณดวงดาว อุปสิทธิ์ พี่เลี้ยง สปสช. 5. คุณยุทธศิลป์ พิตรพิบูลย์พันธุ์ เทศบาลเมืองคลองแห / คณะทำงานจังหวัดสงขลา
6. คุณบุญทิตยา แก้วมัน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา / คณะทำงานจังหวัดสงขลา 7. คุณสำลี สถิตย์ภมิ สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น / คณะทำงานจังหวัด

กลุ่ม 2 อำเภอสิงหนคร อำเภอเมืองสงขลา อำเภอหาดใหญ่ 1. ดร.เพ็ญ สุขมาก สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ 2. คุณสกุลศิริ สกุลสงคราม เทศบาลตำบลท่าช้าง / พี่เลี้ยง สปสช. 3. คุณวารียา บิลตาลี เทศบาลตำบลท่าช้าง / พี่เลี้ยง สปสช. 4. คุณสุดา นิยมเดชา รพ.สต.ฉลุง / พี่เลี้ยง สปสช. 5. คุณอนัญญา แก้วปฏิมา เทศบาลเมืองสิงหนคร / พี่เลี้ยง สปสช. 6. คุณอารีย์ สุวรรณชาตรี พี่เลี้ยง สปสช. 7. คุณพัชรนันท์ วรรณพิบูลย์ เทศบาลเมืองสิงหนคร / คณะทำงานจังหวัดสงขลา

กลุ่ม 3 อำเภอรัตภูมิ อำเภอควนเนียง 1. ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ 2. ปลัดกิติพัฒน์ หนูมี อบต. ควนโส / พี่เลี้ยง สปสช. 3. คุณดวงใจ อ่อนแก้ว เทศบาลเมืองควนลัง / พี่เลี้ยง สปสช. 4. คุณอาหมัด หลีขาหลี พี่เลี้ยง สปสช. 5. คุณอุสมาน หวังสนิ พี่เลี้ยง สปสช. 6. คุณปรีดา รักษ์ทอง เทศบาลตำบลทุ่งลาน / คณะทำงานจังหวัด 7. คุณอมิตตา ประกอบชัยชนะ อบต.ควนรู/ คณะทำงานจังหวัดสงขลา 8. คุณพิพัฒน์พงค์ แก้วสุวรรณ อบต. ควนรู/ คณะทำงานจังหวัด

ผลตามแผน

เกิดการปรับปรุงโครงการให้ครอบคลุมประเด็นด้านอาหารและโภชนาการ ซึ่งส่วนใหญ่จะดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายที่เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ผลที่เกิดขึ้นจริง

บุคลากรขององค์กรปกครองจำนวน 72 แห่ง จำนวนผู้เข้าร่วม 170 คน ซึ่งกระบวนการในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำโครงการระบบอาหารและโภชนาการที่ครอบคลุมทั้งเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
3 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยhamidahamidaเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2560 09:12:38
Project owner
แก้ไขโดย hamida เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2560 14:38:51 น.

ชื่อกิจกรรม : เวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องพืชร่วมยางและเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน

  • photo เวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องพืชร่วมยางและเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสนเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องพืชร่วมยางและเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน
  • photo เวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องพืชร่วมยางและเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสนเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องพืชร่วมยางและเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน
  • photo เวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องพืชร่วมยางและเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสนเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องพืชร่วมยางและเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน
  • photo เวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องพืชร่วมยางและเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสนเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องพืชร่วมยางและเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน
  • photo เวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องพืชร่วมยางและเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสนเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องพืชร่วมยางและเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน

คุณภาพกิจกรรม : 3

วัตถุประสงค์

  • เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายการปลูกพืชร่วมยางและเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน 

กิจกรรมตามแผน

ช่วงเช้า การประชุมรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายพืชร่วมยาง 08.30 – 09.00.น. ลงทะเบียน 09.00 – 09.30 น. ทิศทางนโยบายการจัดการยางพาราของจังหวัดสงขลา โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา 09.30 – 10.30 น. ข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายพืชร่วมยาง โดย
    • รศ.ดร.สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล คณะเศรษฐศาสตร์
      มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์     • ดร.ไชยยะ คงมณี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เนื้อหาการนำเสนอ       • สถานการณ์ ปัญหาและผลกระทบจากระบบการทำสวนยางพาราของ
        จังหวัดสงขลา
      • สาเหตุและการจัดการปัญหา       • หลักการ / แนวคิด  / ทฤษฎี ต่อการขับเคลื่อนการปลูกพืชร่วมยาง
        เพื่อความมั่นคงทางอาหาร       • ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกพืชร่วมยาง
10.30 – 10.45 น. พัก รับประทานอาหารว่าง 10.45 – 11.45 น. ระดมความคิดเห็นข้อเสนอต่อโยบายเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกพืชร่วมยาง โดย
      • รศ.ดร.สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล คณะเศรษฐศาสตร์
        มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ • ดร.ไชยยะ คงมณี  คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ • ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 11.45 – 12.00 น. สรุปแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายพืชร่วมยางของจังหวัดสงขลา โดย     • ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา     • ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
      มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ช่วงบ่าย การประชุมรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน 13.00 – 13.30 น. ทิศทางและแนวทางนโยบายการจัดการเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา 13.30 – 14.30 น. ข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน
โดย ดร.กอบชัย  วรพิมพ์พงษ์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เนื้อหาการนำเสนอ
    • รูปแบบการทำการเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน ของเกษตรกรในจังหวัด
      สงขลาที่ได้รับการสนับสนุน     • ความมั่นคงทางอาหารและประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากการทำการเกษตร 1
      ไร่ 1 แสน
    • ปัจจัยเอื้อและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการทำเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน     • แนวทางการสนับสนุนและพัฒนาการทำเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน เติมเต็มข้อมูลโดย คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 14.30 – 16.00 น. ระดมความคิดเห็นข้อเสนอต่อนโยบายเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการการทำเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน
โดย
    • ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา     • ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
      มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

ช่วงเช้า การประชุมรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายพืชร่วมยาง 08.30 – 09.00.น. ลงทะเบียน 09.00 – 09.30 น. ทิศทางนโยบายการจัดการยางพาราของจังหวัดสงขลา โดย เกษตรจังหวัดสงขลา 09.30 – 10.30 น. ข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายพืชร่วมยาง โดย
    • รศ.ดร.สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล คณะเศรษฐศาสตร์
      มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์     • ดร.ไชยยะ คงมณี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เนื้อหาการนำเสนอ       • สถานการณ์ ปัญหาและผลกระทบจากระบบการทำสวนยางพาราของ
        จังหวัดสงขลา
      • สาเหตุและการจัดการปัญหา       • หลักการ / แนวคิด  / ทฤษฎี ต่อการขับเคลื่อนการปลูกพืชร่วมยาง
        เพื่อความมั่นคงทางอาหาร       • ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกพืชร่วมยาง
10.30 – 10.45 น. พัก รับประทานอาหารว่าง 10.45 – 11.45 น. ระดมความคิดเห็นข้อเสนอต่อโยบายเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกพืชร่วมยาง โดย
      • รศ.ดร.สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล คณะเศรษฐศาสตร์
        มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ • ดร.ไชยยะ คงมณี  คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ • ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 11.45 – 12.00 น. สรุปแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายพืชร่วมยางของจังหวัดสงขลา โดย     • ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา     • ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
      มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ช่วงบ่าย การประชุมรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน 13.00 – 13.30 น. ทิศทางและแนวทางนโยบายการจัดการเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน โดย เกษตรจังหวัดสงขลา 13.30 – 14.30 น. ข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน
โดย ดร.กอบชัย  วรพิมพ์พงษ์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เนื้อหาการนำเสนอ
    • รูปแบบการทำการเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน ของเกษตรกรในจังหวัด
      สงขลาที่ได้รับการสนับสนุน     • ความมั่นคงทางอาหารและประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากการทำการเกษตร 1
      ไร่ 1 แสน
    • ปัจจัยเอื้อและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการทำเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน     • แนวทางการสนับสนุนและพัฒนาการทำเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน เติมเต็มข้อมูลโดย คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 14.30 – 16.00 น. ระดมความคิดเห็นข้อเสนอต่อนโยบายเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการการทำเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน
โดย
    • ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา     • ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
      มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผลตามแผน

  • เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องพืชร่วมยางและเกษตรผสมผสาน ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผลที่เกิดขึ้นจริง

1.ข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนพืชร่วมยาง

  • สร้างกระบวนการที่เป็นรูปธรรมในพื้นที่
  • ปรับกฎระเบียบกฎหมายการยางแห่งประเทศไทย ให้เพิ่มพืชยืนต้นที่มีค่าทางเศรษฐฏิจและรักษาระบบนิเวศน์
  • เน้นการสร้างจิตสำนึกในการปลูกพืชร่วมยาง
  • ให้หน่วยงาน กสทช.สร้างสื่อการปลูกพืชร่วมยาง
  • สร้างความเข้าใจให้ชาวบ้านในพื้นที่ต่อการทำพืชแซมยาง
  • ให้ กยท.เน้นส่งเสริมการปลูกพืชร่วมยาง
  • ส่งเสริมให้มีการวิจัยท้องถิ่นการปลูกพืชร่วมยาง
  • สร้างแกนนำให้เกิดขึ้นในกลุ่มปลูกพืชร่วมยางและขยายผลไปสู่เครือข่าย

2.ข้อเสนอต่อการทำเกษตร 1 ไร่ 1 แสน

  • ให้หน่วยงานมาให้ความรู้เรื่องการบำรุงดิน
  • แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ทำการเกษตร
  • เชื่อมโยงตลาดกับเกษตรกร และการพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร
  • สนับสนุนและควบคุมคุณภาพปัจจัยการผลิต
  • ให้ความรู้ด้านการต่อยอดและการวิเคราะห์การผลิตของเกษตรกร
  • ให้ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มเติมกับเกษตรกร

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
31 มกราคม 2560 เวลา 13:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยhamidahamidaเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560 20:11:43
Project owner
แก้ไขโดย hamida เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560 20:56:30 น.

ชื่อกิจกรรม : ประชุมเตรียมงานพัฒนาโครงการบูรณาการอาหารและโภชนาการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  • photo ประชุมเตรียมงานพัฒนาโครงการบูรณาการอาหารและโภชนาการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประชุมเตรียมงานพัฒนาโครงการบูรณาการอาหารและโภชนาการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • photo ประชุมเตรียมงานพัฒนาโครงการบูรณาการอาหารและโภชนาการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประชุมเตรียมงานพัฒนาโครงการบูรณาการอาหารและโภชนาการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • photo ประชุมเตรียมงานพัฒนาโครงการบูรณาการอาหารและโภชนาการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประชุมเตรียมงานพัฒนาโครงการบูรณาการอาหารและโภชนาการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • photo ประชุมเตรียมงานพัฒนาโครงการบูรณาการอาหารและโภชนาการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประชุมเตรียมงานพัฒนาโครงการบูรณาการอาหารและโภชนาการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • photo ประชุมเตรียมงานพัฒนาโครงการบูรณาการอาหารและโภชนาการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประชุมเตรียมงานพัฒนาโครงการบูรณาการอาหารและโภชนาการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

คุณภาพกิจกรรม : 4

วัตถุประสงค์

  • เพื่อประชุมหารือการพัฒนาโครงการระบบอาหารและโภชนาการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

กิจกรรมตามแผน

ประชุมหารือแนวทางการพัฒนาโครงการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการระบบอาหารและโภชนาการในระดับท้องถิ่นของจังหวัดสงขลา

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

ประชุมหารือในประเด็นต่อไปนี้

1.การพัฒนาโครงการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 เรื่อง

  • การบูรณาการอาหารร่วมกับท้อถิ่น
  • การผลักดันตลาดปลอดภัย
  • การผลักดันพืชร่วมยาง
  • เกษตรผสมผสาน

2.สรุปผลการประชุมแลกเปลี่ยนการจัดการระบบอาหารในท้องถิ่น เมื่อวันที่ 15-16 ธันวาคม 2559 ที่ สจรส.ม.อ.

3.วางแผนการจัด work shop พัฒนาโครงการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผลตามแผน

  • ได้กระบวนการพัฒนาโครงการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีโครงการจากท้องถิ่นเขียนเข้ามา

ผลที่เกิดขึ้นจริง

1.สรุปผลการจัดประชุมเมื่อวันที่ 15-16 ธันวาคม 2559 การเขียนโครงการของท้องถิ่นที่ส่งเข้ามายังไม่ครอบคลุมการขอทุนจาก สปสช.

2.กระบวนการจัด workshop การพัฒนาโครงการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  • ทาง สจรส.ม.อ.จะหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดและท้องถิ่นจังหวัด เพื่อเอาวาระอาหารปลอดภัยเข้าไปพูดคุย
  • จัด workshop เชิญองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา เข้าร่วมในวันที่ 16-17 ก.พ.60
  • จัดกิจกรรมศึกษาดูงานเรื่องชันชีบ้านนาทอน ที่ อบต.นาทอน โดยพาทีมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปร่วมเรียนรู้

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
12 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยwannawannaเมื่อ 15 มกราคม 2560 20:42:59
Project trainer
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 15 มกราคม 2560 21:08:06 น.

ชื่อกิจกรรม : ถอดบทเรียนการดำเนินโครงการย่อย ครั้งที่ 2

  • photo ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ บรรยายรูปแบบการบูรณาการระบบอาหารโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ บรรยายรูปแบบการบูรณาการระบบอาหารโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • photo เทศบาลเมืองสิงหนคร ระดมความคิดเห็นเทศบาลเมืองสิงหนคร ระดมความคิดเห็น
  • photo ดร.เพ็ญ สุขมาก ชี้แจงคำถามการถอดบทเรียนดร.เพ็ญ สุขมาก ชี้แจงคำถามการถอดบทเรียน
  • photo เทศบาลตำบลชะแล้ แลกเปลี่ยนการทำงานเทศบาลตำบลชะแล้ แลกเปลี่ยนการทำงาน
  • photo ระดมความคิดเห็นในกลุ่มย่อยระดมความคิดเห็นในกลุ่มย่อย

คุณภาพกิจกรรม : 3

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้โครงการย่อยเกิดการสังเคราะห์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน

2.เพื่อให้โครงการย่อยกำหนดเป้าหมายแผนการทำงานปีที่ 4

กิจกรรมตามแผน

ประชุมถอดบทเรียนโครงการย่อยครั้งที่ 1 จำนวน 5 โครงการย่อย ได้แก่ อบต.ควนรู เทศบาลตำบลเชิงแส อบต.รัตภูมิ และตลาดเกษตร ม.อ. โดยมีกระบวนการ

1.สรุปแนวคิดการบูรณาการระบบอาหารโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ

2.แบ่งกลุ่มเพื่อให้โครงการย่อยช่วยกันระดมความคิด เห็นโดยใช้โจทย์

1.ภาพความสำเร็จที่เราคาดหวังคืออะไร?

2.สิงที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร? > เราทำอะไร? เกิดผลอะไร?

3.ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เราคาดหวัง  กับ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง เชิงทฤษฎี  -การออกแบบกิจกรรมตามแผนงาน  โครงการ ? เชิงปฏิบัติ - ข้อมูล ปัจจัยนำเข้าของโครงการ คน/กลุ่มคน /หน่วยงาน/ภูมิปัญญา/ ทุน /งบประมาณ/วัสดุ อุปกรณ์
ปัจจัยอะไร  ปัจจัยสำเร็จ  อุปสรรค มีอะไร  ดี ๆ เกิดขึ้นบ้าง อย่างไร?

4.ข้อเสนอต่อการดำเนินงานในอนาคต > จะทำอะไรให้ดีขึ้น

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

ประชุมถอดบทเรียนโครงการย่อยครั้งที่ 2 จำนวน 3 โครงการย่อย ได้แก่ เทศบาลเมืองสิงหนครเทศบาลตำบลชะแล้ และคณะทรัพยากรธรรมชาติ กระบวนการถอดบทเรียนมีดังนี้

1.สรุปแนวคิดการบูรณาการระบบอาหารโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ

2.แบ่งกลุ่มเพื่อให้โครงการย่อยช่วยกันระดมความคิด เห็นโดยใช้โจทย์

1.ภาพความสำเร็จที่เราคาดหวังคืออะไร?

2.สิงที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร? > เราทำอะไร? เกิดผลอะไร?

3.ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เราคาดหวัง  กับ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง เชิงทฤษฎี  -การออกแบบกิจกรรมตามแผนงาน  โครงการ ? เชิงปฏิบัติ - ข้อมูล ปัจจัยนำเข้าของโครงการ คน/กลุ่มคน /หน่วยงาน/ภูมิปัญญา/ ทุน /งบประมาณ/วัสดุ อุปกรณ์
ปัจจัยอะไร  ปัจจัยสำเร็จ  อุปสรรค มีอะไร  ดี ๆ เกิดขึ้นบ้าง อย่างไร?

4.ข้อเสนอต่อการดำเนินงานในอนาคต > จะทำอะไรให้ดีขึ้น

ผลตามแผน

ประชุมถอดบทเรียนโครงการย่อยครั้งที่ 2 จำนวน 3 โครงการย่อย ได้แก่ เทศบาลเมืองสิงหนครเทศบาลตำบลชะแล้ และคณะทรัพยากรธรรมชาติ กระบวนการถอดบทเรียนมีดังนี้

1.สรุปแนวคิดการบูรณาการระบบอาหารโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ

2.แบ่งกลุ่มเพื่อให้โครงการย่อยช่วยกันระดมความคิด เห็นโดยใช้โจทย์

1.ภาพความสำเร็จที่เราคาดหวังคืออะไร?

2.สิงที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร? > เราทำอะไร? เกิดผลอะไร?

3.ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เราคาดหวัง  กับ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง เชิงทฤษฎี  -การออกแบบกิจกรรมตามแผนงาน  โครงการ ? เชิงปฏิบัติ - ข้อมูล ปัจจัยนำเข้าของโครงการ คน/กลุ่มคน /หน่วยงาน/ภูมิปัญญา/ ทุน /งบประมาณ/วัสดุ อุปกรณ์
ปัจจัยอะไร  ปัจจัยสำเร็จ  อุปสรรค มีอะไร  ดี ๆ เกิดขึ้นบ้าง อย่างไร?

4.ข้อเสนอต่อการดำเนินงานในอนาคต > จะทำอะไรให้ดีขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง

1 อ.กอบชัย วรพิมพงษ์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ดำเนินโครงการถอดบทเรียน 1 ไร่ 1 แสน

1.1สิ่งที่คาดหวัง

1.1.1รูปแบบการเกษตรที่สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรทั้งปี

1.1.2มูลค่าการผลิตที่เกษตรสามารถจำหน่ายได้อย่างน้อย
100000 บาทต่อไร่

1.1.3รูปแบบการทำเกษตรที่สามารถทำได้ตลอดปี มีความมั่นคงทางระบบนิเวศ

1.2สิ่งที่เกิดขึ้น

1.2.1 มีบางคนที่ ได้ 1 ไร่ 1 แสน เพราะเขามีเกษตรอื่นร่วมด้วย
1.2.2 เกษตรกรสามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัย ไว้บริโภคในครัวเรือน ลดรายจ่าย

1.2.3 มีการแบ่งปันผลผลิตสู่ชุมชน

1.3 ความแตกต่าง ระหว่งส่ิงที่เราคาดหวัง กับส่ิงที่เกิดขึ้นจริง

1.3.1 ความคาดหวังของนักิจัย

1.3.2 การปฏิบัติ เกษตรกรคิดเรื่องการผลิตอาหารเป็นหลักเพื่อการบริโภคไม่ได้คิดเรื่องการจำหน่าย คิดเรื่องการเษตรแบบพอเพียงเป็นตัวตั้งต้น

1.3.3 การขายผลผลิตเป็นโอกาส

1.3.4 บางรายใช้เกษตร 1 ไร่ 1 แสนไม่เต็มที มีสวนยาง มีปาล์ม่

1.3.5 ข้อจำกัด ของพื้นที > วิเคราะห์ เลือกให้เหมาะสม หากไม่สำเร็จ เกิดความท้อใจ

1.3.6 ความตั้งใจของเกษตร

1.4 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1.4.1 ความชอบและความตั้งใจของเกษตรกรในการทำการเกษตร

1.4.2 หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่เกษตร ยึดถือ มาจากการผลิตเพื่อบริโภค กังวลเรื่องอาหารปลอดภัย

1.4.3 การปรับตัวด้านการทำการเกษตรของเกษตรกร เช่น ขายไม่ได้ ก็แปรรูป ควาคิดสร้างสรรค์ของการเกษตร การหาตลาด เป็นต้น

1.5 ปัญหา อุปสรรค

1.5.1 การตลลาด

1.5.2 ข้อจำกัดด้านพื้นที่ (ลักษณะดิน ชลประทาน ฤดูกาล น้ำท่วม แล้ง)

1.5.3 การสนับสนุนปัจจัยการผลิตล่าช้า ไม่ตรงตามความต้องการ เรื่องจากปัญหาเชิงระเบียบ

1.6 สิ่งดี ๆ

1.6.1 รายได้เสริม ของเกษตรกร

1.6.2 อาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ความมั่นคงในครัวเรือน ที่สามารถแบ่งปันสู่ชุมชน

1.6.3 การใช้เวลาว่งให้เกิดประโยชน์ >ได้ออกกำลังกาย ได้ความรู้เพิ่มเติม

1.7 ข้อเสนอ

1.7.1 การสนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกร ถ้าสนับสนุนช้า ทำให้ล่วงเลยฤดูกาลที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก

1.7.2 การจัดหาการตลาด ให้แก่เกษตรกร เนื่องจากที่ผลิตได้ส่วนใหญ่ผลิตได้ในชุมชน เนื่องจากกำลังซื้อไม่มาก

2 เทศบาลตำบลชะแล้

2.1 สิ่งที่คาดหวัง

2.1.1 มีอาหารบริโภคปลอดภัย

2.1.2 ปรับพฤติกรรมการบริโภค

2.2 ส่ิงที่เกิดขึ้น

2.2.1 ฟาร์มทะเล  คอดโดปลา

2.2.2 ส่งเสริม แจกกลุ่มในโรงเรียนชุมชน มีกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ อบรมความรู เน้นการดำเนินงานโรงเรียน ศพด.

2.2.3 อบรม อย.น้อย>เรียนรู้เร่ืองการบริโภค

2.2.4 การทำปุ๋ยหมักในโรงเรียน สู่ชุมชน นักเรียน แกนนำ อสม.

2.2.5 โครงการเกษตร เพื่ออาหารกลางวัน  ใน โรงเรียน ศพดฬ  ใช้วัตถุดิบในชุมชน สำหรับอาหารกลางวันใน ศพด.

2.2.6 เกิดการแบ่างปัน ผลผลิต ในชุมชน แก่เด็กนักเรียน ศพด.

2.2.7 เมนูอาหาร

2.2.8 การประเมินภาวะ โภชนาการเด็ก

2.2.9 โปรแกรม Thai school lunch

2.2.10 การเก็บข้อมูล เพื่อทำแผนที่ ความมั่นคงทางอาหาร

2.3 ปัญหา อุปสรรค

2.3.1 ขาดความมั่นคงทางเมล็ดพันธ์ บางอย่า เช่น ผัก

2.3.2 ด้านแหล่งน้ำ  ฤดูกาล แล้ง หน้าฝน  ทำให้ไม่มีผลลผิต  ป้อนตลาดสีเขียว

2.3.3 การทำให้สำเร็จ  เรื่อง ทุน ที่ใช้ในการดำเนินการ สำคัญ
2.3.4 วัฒนธรรม การบริโภคของคนบางกลุ่ม เช่น บางกลุ่ม ใช้สารเคมี

2.4 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

2.4.1 ภูมิปัญญาในการผลิตปุ๋ย

2.4.2 มีทรัพยากร อาหารเพียงพอ> อาหารเพียงพอจากฟาร์มทะเล

2.4.3 การมีข้อกำหนด การจับสัตว์น้ำ

2.4.4 มีหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เข้ามาสนับสนุน กิจกรรม ส่งผลต่อความสมบูรณืมทางทะเล

2.4.5 ความร่วมมือของผู้ปกครอง ในการจัดการ โภชนาการที่บ้าน

2.5 ข้อเสนอแนะ

2.5.1 ดำเนินโครงการต่อไป

2.5.2 ขยายพื้นที่ ปลุกผัก ทั้งชนิด ปริมาณ ให้เกิดศูนย์เรียนรู้

2.5.3 การส่งเสริมตลาดสีเขียวในชุมชน

2.5.4 มีการกำหนดมาตรการโภชนาการ ให้ชัดเจนมากขึ้น

3 เทศบาลเมืองสิงหนคร

3.1 สิ่งที่คาดหวัง

3.1.1 เด็กในชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดี  เก่งดี มีสุข

3.1.2 มีตลาด รองรับ เชื่อมโยง ศพด.

3.2 สิ่งที่เกิดขึ้น

3.2.1 ศพด.

บูณาการการเรียนก่ารสอนกับการทำเกษตร กับวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ การมีส่วนร่วมกับผู้ปกครอง ส่งเสริมพฤติกรรมการกินผัก

3.2.2 มีการสำรวจ ข้อมูลการปลูกผัก
3.2.3 อบรมแม่ครัว

3.2.4 สร้างข้อตกลง ระหว่างผู้ปกครอง กับ แม่ครัว

3.2.5 การสนับสนุนให้ปชช.ทำปุ๋ยหมัก

3.3 สิ่งที่คาดหวัง

3.3.1 มีพื้นที่ เพาะปลูกการเกษตร

3.3.2 ตลาดรองรับผลผลิต

3.3.3 มีเครือข่ายผู้บริโภค 3.4 ปัญหา อุปสรรค 3.5 ข้อเสนอแนะ 3.5.1 การนำหลักเศรษฐกิจ พอเพียงไปบรรจุในสาระการเรียนรู้ 3.5.2 สนัลสนุนการมีส่วนร่วมของนักเรียย และผู้ปกครอง
3.5.3 การบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ ในหลักสูตร

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
5 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยwannawannaเมื่อ 15 มกราคม 2560 20:07:54
Project trainer
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 15 มกราคม 2560 20:42:28 น.

ชื่อกิจกรรม : ถอดบทเรียนการดำเนินโครงการย่อย ครั้งที่ 1

  • photo ถอดบทเรียนการดำเนินโครงการย่อย ครั้งที่ 1ถอดบทเรียนการดำเนินโครงการย่อย ครั้งที่ 1
  • photo การนำเสนอกลุ่มย่อยของ อบต.ควนรูการนำเสนอกลุ่มย่อยของ อบต.ควนรู
  • photo การนำเสนอกลุ่มย่อยอาหารของคณะเภสัชศาสตร์การนำเสนอกลุ่มย่อยอาหารของคณะเภสัชศาสตร์
  • photo ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ นำเสนอรูปแบบการบูรณาการระบบอาหารในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ นำเสนอรูปแบบการบูรณาการระบบอาหารในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • photo อบต.รัตภูมิ นำเสนอกลุ่มย่อยอบต.รัตภูมิ นำเสนอกลุ่มย่อย
  • photo เทศบาลตำบลเชิงแส นำเสนอกลุ่มย่อยเทศบาลตำบลเชิงแส นำเสนอกลุ่มย่อย
  • photo ตลาดเกษตร ม.อ. นำเสนอกลุ่มย่อยตลาดเกษตร ม.อ. นำเสนอกลุ่มย่อย

คุณภาพกิจกรรม : 3

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้โครงการย่อยเกิดการสังเคราะห์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน

2.เพื่อให้โครงการย่อยกำหนดเป้าหมายแผนการทำงานปีที่ 4

กิจกรรมตามแผน

ประชุมถอดบทเรียนโครงการย่อยครั้งที่ 1 จำนวน 5 โครงการย่อย ได้แก่ อบต.ควนรู เทศบาลตำบลเชิงแส อบต.รัตภูมิ และตลาดเกษตร ม.อ. โดยมีกระบวนการ

1.สรุปแนวคิดการบูรณาการระบบอาหารโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ

2.แบ่งกลุ่มเพื่อให้โครงการย่อยช่วยกันระดมความคิด เห็นโดยใช้โจทย์

1.ภาพความสำเร็จที่เราคาดหวังคืออะไร?

2.สิงที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร? > เราทำอะไร? เกิดผลอะไร?

3.ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เราคาดหวัง  กับ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง เชิงทฤษฎี  -การออกแบบกิจกรรมตามแผนงาน  โครงการ ? เชิงปฏิบัติ - ข้อมูล ปัจจัยนำเข้าของโครงการ คน/กลุ่มคน /หน่วยงาน/ภูมิปัญญา/ ทุน /งบประมาณ/วัสดุ อุปกรณ์
ปัจจัยอะไร  ปัจจัยสำเร็จ  อุปสรรค มีอะไร  ดี ๆ เกิดขึ้นบ้าง อย่างไร?

4.ข้อเสนอต่อการดำเนินงานในอนาคต > จะทำอะไรให้ดีขึ้น

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

ประชุมถอดบทเรียนโครงการย่อยครั้งที่ 1 จำนวน 5 โครงการย่อย ได้แก่ อบต.ควนรู เทศบาลตำบลเชิงแส อบต.รัตภูมิ และตลาดเกษตร ม.อ. โดยมีกระบวนการ

1.สรุปแนวคิดการบูรณาการระบบอาหารโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ

2.แบ่งกลุ่มเพื่อให้โครงการย่อยช่วยกันระดมความคิด เห็นโดยใช้โจทย์ 1.ภาพความสำเร็จที่เราคาดหวังคืออะไร? 2. สิงที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร? > เราทำอะไร? เกิดผลอะไร? 3.ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เราคาดหวัง  กับ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง เชิงทฤษฎี  -การออกแบบกิจกรรมตามแผนงาน  โครงการ ? เชิงปฏิบัติ - ข้อมูล ปัจจัยนำเข้าของโครงการ คน/กลุ่มคน /หน่วยงาน/ภูมิปัญญา/ ทุน /งบประมาณ/วัสดุ อุปกรณ์
ปัจจัยอะไร  ปัจจัยสำเร็จ  อุปสรรค มีอะไร  ดี ๆ เกิดขึ้นบ้าง อย่างไร?

4.ข้อเสนอต่อการดำเนินงานในอนาคต > จะทำอะไรให้ดีขึ้น

ผลตามแผน

ประชุมถอดบทเรียนโครงการย่อยครั้งที่ 1 จำนวน 5 โครงการย่อย ได้แก่ อบต.ควนรู เทศบาลตำบลเชิงแส อบต.รัตภูมิ และตลาดเกษตร ม.อ. โดยมีกระบวนการ

1.สรุปแนวคิดการบูรณาการระบบอาหารโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ

2.แบ่งกลุ่มเพื่อให้โครงการย่อยช่วยกันระดมความคิด เห็นโดยใช้โจทย์ 1.ภาพความสำเร็จที่เราคาดหวังคืออะไร? 2.สิงที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร? > เราทำอะไร? เกิดผลอะไร? 3.ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เราคาดหวัง  กับ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง เชิงทฤษฎี  -การออกแบบกิจกรรมตามแผนงาน  โครงการ ? เชิงปฏิบัติ - ข้อมูล ปัจจัยนำเข้าของโครงการ คน/กลุ่มคน /หน่วยงาน/ภูมิปัญญา/ ทุน /งบประมาณ/วัสดุ อุปกรณ์
ปัจจัยอะไร  ปัจจัยสำเร็จ  อุปสรรค มีอะไร  ดี ๆ เกิดขึ้นบ้าง อย่างไร?

4.ข้อเสนอต่อการดำเนินงานในอนาคต > จะทำอะไรให้ดีขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง

โครงการย่อยได้สรุปความรู้ที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

1 ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
1.1 เด็กมีโภชนาการทที่ดีขึ้น 1.2 ประชาชนมีสุขภาพดี  โรค NCD ลดลง 1.3 พึ่งตนเองได้ เมื่อคนเข้าใจ สามารถผลิต แปรรูป จำหน่าย เศรษฐกิจดีขึ้น การอยู่ร่วมกันได้แบบบ้านนอก  ดูแลช่วยเหลือกัน ช่วยแรงมากกว่าเงิน 1.4 ประชาชนในตำบลมีภาวะโภชนาการดี มีแหล่งอาหารเพียงพอ ปลอดภัย ปลอดสารพิษ 1.5 มีศักยภาพด้านการผลิตอาหารที่เพียงพอเพิ่มขึ้น 1.6 การเข้าถึงอาหาร การจัดตลาดนัดชุมชน 1.7 อาหารในชุมชนปลอดภัย 1.8 การให้ความรู้แก่ประชาชน
1.9 ชุมชนพึ่งตนเอง 1.10 ในระยะแรก เพราะเข้้าใจว่า ตลาดดำเนินการสำเร็จแล้ว คิดแค่เอามาพัฒนาตลาดเท่านั้นไม่ทำความสำเร็จ ในหัว ทำกิจกรรม ย่อย ๆ ให้สำเร็จตามเป้าหมาย เท่านั้น
1.11 คณะเภสัช ให้เอาสมุนไพร ไปใช้ประโยชน์ การเอาอาหารมาเป็น อาหารได้อย่างไร 1.12 ระยะแรก การสำรวจสมุนไพรในพื้นที่ แล้วเอาสมุนไพรมาเป็นเมนูแอาหาร  ในปีที่ 2 ได้คู่มืออาหาร  ระยะที่2 นำเมนูไปใช้ในผู้ประกอบการ ดดยการเชิญผู้ประกอบการมาอบรม  ปีที่ 3 ลงพื้นที่ โดยเน้น อสม.รพ.สต. 1.13 ปชช นำสมุนไพรมาเป็นอาหาร คนสนใจเข้าร่วมโครงการ  นำมาใช้ประโยชน์ต่อตนเอง บุคคลรอบข้าง
1.14 สามารถใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชน มาใช้ให้เกิดประโยชน์
1.15 สมาชิกมีสุขภาวะดีขึ้น ใช้ยาสมุนไพร
2 แผนงาน  โครงการ กิจกรรม ที่ดำเนินการ/ผลการดำเนินงาน 2.1 โครงการเกษตรอาหรกลางวันในโรงเรียน 3 แห่ง เด็กทานอาหารที่ปลูกเอง อาหารที่เหลือขายในชุมชน อาหารปลอดสารเคมี เด็กมีรายได้
2.2 โครงการปลอดภัย
2.3 เรียนรู้นอกสถานที่  ทั้งเด็ก และผู้ปกครอง เด็กผู้ปกครองรู้แหล่งอาหารในพื้นที่  การขายอาหารข้างนอก 2.4 เปิดเวทีแลกเลี่ยนเรียนรู้อาหารปลอดภัย  การทำสารกำจัดศุตรูพืช การจัดเมล็ดพันธ์ การทำปุ๋ยอินทรีย์ แจกเมล็ดพันธ์ 2.5 โปรแกรม Thai school lunch 2.6 ประเมินภาวะโภชนาการ เด็ก แก้ปัญหาตามปัญหาของเด็ก เช่นการแก้ปัญหาเด็กขาดสารอาหาร
2.7 ภาวะโภชนาการไม่ดี อาหารปลอดภัยไม่เพียงพอ มีเครือข่ายผู้ผลิต ผู้บริโภคไม่มาก มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง  บางหน่วยงานยังไม่ให้ความสำคัญเพียงพอ 2.8 ให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้อง 2.9 ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียน  ปรับทัศนคติที่ดี่กับเด็ก 2.10 มีสำรวจแหล่งอาหารในพื้นที่
2.11 การประเมินภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน
2.12 มีการสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่น ปรัาชาวบ้าน 2.13 เกิดความตระหนักด้านโภชนาการในกลุ่มเป้าหมายบางกลุ  อ
2.14 ผลผลิตนำไปสนับสนุนอาหารกลางวันได้ ไม่สามารถทำได้ เพราะเด็กมาก การผลิตไม่หลากหาย คือปัญหาควาไม่พอเพียง 2.15 สำรวจแหล่งอาหารในตำบล 2.16 สร้างความตระหนักอาหารปลอดภัย 2.17 มีการปรับเปลี่ยนระบบโรงครัวในศูนย์เด็กเล็ก 2.18 มีการใช้วัตถุดิบจากชุมชน เน้นความปลอดภัย
2.19 ใช้เมนูโภชนาการ 2.20 ติดตามภาวะโภชนาการในเด็ก
2.21 การสนับสนุนความรู้แก่ผู้ปกครอง วพบ. ทำอย่างไรให้เขารู้และสามรถนำไปใช้ได้  เน้นการทำงานเชิงรุก 2.22 รพสต. รพ.รัตภูมิ จัดตั้งกลุ่ม อย.น้อย . ดำเนินงานเรื่องความปลอดภัยในอาหาร 2.23 จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ อาหารปลอดภัย 2.24 เพิ่มพื้นที่การปลูกเกษตรปลอดภัย  ขยายกลุ่มเป้าหมาย ครัวเรื่อนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2.25 มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ผลิตเพื่อบริโภคเอง 2.26 เกิดศูนย์เรียนรู้ในโรงเรียน  ศูนนย์เด็กเล็ก
2.27 มีการใช้ฐานข้อมูล ชุมชน หารวิเคราะห์บริบทชุมชน  นำข้อมูลมาเพื่อจัดทำแผนพัฒนตำบลควนรู  ทำให้เกิดการขับเคลือ่นอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การปฏิบัติา
2.28 มีการบูรณษการเชือ่มคน input โดยให้ทุกห่วยงาน มาทำร่วมกัน  ทำให้คนเรียนรู้ร่มกัน
2.29 เกษตรกร ได้มีการพัฒนาทักษะ  เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
2.30 การดำเนินงานไม่ถูกตามหลักวิชาการ มีการพัฒนาศักยภาพจากเกษตรกร ธรรมดา เป็นวิทยากร 2.31 แปลงต้นแบบ  จังหวัดสงขลา
2.32 ผู้จำหน่าย ให้ตลาด เกษตร เรียนรู้วิธีการพัฒนาสินค้า แบรนด์ จาก แม่ค้า เป็นผู้ปนะกอบการ 2.33 ทํศนคติ และการพัฒนาศักยภาพทำงาน มากขึ้น เข้าใจวิถีการทำแปลงเกษตรแบบยั่งยืน
2.34 คนทำงาน ได้คิดเป็นระบบ มากขึ้น
2.35 การรวมกลุ่ม ทำให้เกิดการลดต้นทุน การผลิต เช่นเปลี่ยนวิธีการปลุกจากสารเคมี เป็นปลุกบนดิิน
2.36 การเก็บเมล็ดพันธ์เอง  โดยเฉพาะผักพื้นบ้าน  การเพราะเมล็ดทีดี
2.37 เกิดการเรียนรู้มาตรฐานการเกษตรแบบเดียวกัน เช่นการทำดิน การทำปุ๋ย การทำระบบน้ำ เรียนรู้ทุกกระบวนการ ในตลาด 2.38 การปลูกผักในโรงเรือน ปลูกผักบนโต๊ะ ราคาผลผลิตดี มีคุณภาพ
2.39 การยกร่องเตรียมแปลง
2.40 มีการบันทึกผลผลิต ของแต่ละคน มีการเลี้ยงไส้เดือน มาทำปุ๋ยหมัก 2.41 ใช้ความรู้เชิงวิชาการมาปรับการดำเนินงาน
2.42 เกษตรรายได้เพิ่มขึ้น  บ้านมีคนเรียนรู้ ในพื้นที่
2.43 มีการขยายกลุ่มเกษตรในพื้นที่เพิ่มขึ้น จากการมาดูงานในพื้นที่ มีการขยาย กับหน่วยงานต่าง ๆ มาก ขึ้น  มีการประสานงานที่ดี  นการจำหน่ายผลการผลิต
2.44 มีนักวิชาการ แก้ปัญหา
2.45 โครงการ matching model 2.46 การศึกษาดูงาน ทำให้เกิดการทำแปลง เกษตรกร ดูงาน ในและต่างประเทศ 2.47 ในชุมชนมีสมุนไพร มาก แต่ชาวบ้าน ไม่กล่้าใช้  ในชุมชน มีผู้ป่วย NCD เยอะมาก การนำสมุนไพรมาใช้ ลดการใช้ยา
2.48 มีการลงพื้นที่ ขยายเมนูอาหาร สอนทำเมนูอาหาร ทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน อสม. ผู้นำชุมชน รพสต. ลงพื้นที่ 2 ครั้ง ครั้งหลังเพื่อประเมินผล มีการขยายผลไปพื้นที่อื่น ๆ
3 ปัจจัยสำเร็จ  ปัญหา  อุปสรรค 3.1 มีงบประมาณดำเนินงานอย่างเพียงพอต่อเนื่อง
3.2 มีเครือข่าย ต่อเน่ือง 3.3 มีนโยบายประชารัฐ  มีการแปรรูป โรงสีข่้าวชุมชน
3.4 การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐไม่ต่อเนื่อง 3.5 สภาพพื้นที่น้ำท่วมถึง
3.6 การปรับเปลี่ยน ทัศนคติและพฤติกรรม เป็นเรื่องยาก
3.7 ความร่วมมือของคนในชุมชน 3.8 การหนุนเสริมจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.9 อุปสรรค เช่นปัญหาผู้ปกครองมีความรู้แต่ไม่สามารถปโฏิบัติได้  อาจเนื่องจาก เวลา อาชีพ 3.10 ข้อจำกัดเร่ืองระยะเวลา เช่น อปท.มีงานที่ดำเนินการหลาย ๆ เร่ือง ทำให้การประสานงาน ติดต่อ ประชุม อาจมีการเลปี่ลี่ยนคน ทำให้ควารู้ไม่ต้อเน่ือง คนมาไม่ใช่คนปฏิบัติ คนปฏิบัติไม่รู้ 3.11 ความรู้  ความเข้าใจของบุคลากรในการดำเนินงานของท้องถิ่น  บุคลากรจำกั  แก้ปัญหาโดยใช้คนในชุมชน ด 3.12 ส่ิงดี ๆ
3.12.1 ทำให้เกิดการพัฒนา โดยเฉพาะเร่ืองคน เกิดความรู้ในตัวคน เกิเดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด คคิดบวกมากขึ้น มีประสบการณ์ความรู้เรื่องการทำงานแบบมีส่วนร่วมในการทำงานมากขึ้น 3.12.2 ก่อให้เกิดการเชื่อมคนของหน่วยงานที่พื้นที่ มาทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 3.13 เกิดกระบวนการเรียนรู้ ของคนทำงาน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง 3.14 การให้ความรู้กับ  คน การดูงาน อบรม
3.15 มีความมุ่งมั่น  ตั้งใจ ในการทำงาน
3.16 การรวมกลุ่มที่เป็นมิตาแท้ ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
3.17 การทำแปลงร่วมกัน  ทำงานร่วมกัน  มากกว่าการประชุม
3.18 เกษตรกร อยู่คนละพื้นที่
3.19 เชิงทฤษฎี ปัญหา คือเร่ืองภาระงาน กระทบกับงาน ประจำคือการเรียนการสอน
3.20 กล่มเป้าหมาย เป็น รพสต. อสม.ผู้สนใจ โดยใช้สมุนไพรในชุมชน

4 ข้อเสนอต่อการดำเนินงานในอนาคต 4.1 มีการศุนย์เรียนรู้ในชุมชน อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ 4.2 มีการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอกับการผลิต ทำโครงการร่วมกับชลประทาน 4.3 ขยายเครือข่าย เพิ่มมากขึ้น 4.4 การให้ความรู้เพิ่มมูลค่า การผลิตของชุมชน
4.5 เพื่อเพิ่มการเรียนรู้ในชุมชนในพื้นที่
4.6 การร่มมือการดำเนินงานของทุกภาคส่วน 4.7 การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 4.8 มีการจัดตั้งตลาดนัดชุมชนสีเขียว ปัยหาเร่ืองพื้นที่  จะทำอาคารหลังคา สี่แยกคูหา  ทำข้อบัญญัติท้องถิ่น
4.9 มีการคุมอาหารตั้่งแต่ผู้ผลิต บริโภค อย่างปลอดภัย
4.10 การสร้างกระบวนการเรียนรู้ของนักเนรียน การปลูกผัก  การทำนา
4.11 การดำเนินงานต้องใช้ความร่วมมือของคนหลายฝ่าย ความรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ปัญหา อุปสรรค ในระหว่างการดชทำงาน ต้องเตรียมความพร้อมเรื่องคน และใช้เวลา ในการทำงานมากพอควร
4.12 การเข้าใจบริบทของคนทำงานในพื้นที่
4.13 ทำอย่างต่อเนื่องทั้งมีและไม่มีปัญหา ให้ทำอย่างต่อเนื่อง
4.14 ท้องถิ่นข้อมตระหนักว่า  โครงการเป็นของท้องถิ่นเอง
4.15 งบประมาณสนับสนุนการทำโรงเรีือน ในการปลูกผัก
4.16 การใช้ประโยชน์จากสื่อ online โดยการจองผักล่วงหน้า
4.17 การแปรรูปผลผลิตมากขึ้น  ภายในครัวเรือน จากผลผลิตของตนเอง
4.18 จัดตั้งศูนย์รวบรวมผลผลิต
4.19 การเพิ่มขยายกลุ่มเป้าหมาย เมนูอาหารเป็นยา สู่โรงเรียน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
15 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยwannawannaเมื่อ 22 ธันวาคม 2559 14:15:41
Project trainer
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 29 พฤษภาคม 2560 14:52:16 น.

ชื่อกิจกรรม : ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการบูรณาการระบบอาหารในระดับท้องถิ่น

  • photo นายอนุรัฐ ไทยตรง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา บรรยายเรื่องท้องถิ่นกับการจัดการบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการนายอนุรัฐ ไทยตรง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา บรรยายเรื่องท้องถิ่นกับการจัดการบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการ
  • photo แลกเปลี่ยนการจัดการบูรณาการอาหารในระดับตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลรัตภูมิและตลาดเกษตร ม.อ.แลกเปลี่ยนการจัดการบูรณาการอาหารในระดับตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลรัตภูมิและตลาดเกษตร ม.อ.
  • photo อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ บรรยายเรื่องกระบวนทัศน์ใหม่ของท้องถิ่นในการจัดการด้านอาหาร และเด็กอ้วนเด็กผอม ล้วนเป็นปัญหาของชาติอาจารย์สง่า ดามาพงษ์ บรรยายเรื่องกระบวนทัศน์ใหม่ของท้องถิ่นในการจัดการด้านอาหาร และเด็กอ้วนเด็กผอม ล้วนเป็นปัญหาของชาติ
  • photo ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการบูรณาการระบบอาหารในระดับท้องถิ่นประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการบูรณาการระบบอาหารในระดับท้องถิ่น
  • photo ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการบูรณาการระบบอาหารในระดับท้องถิ่นประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการบูรณาการระบบอาหารในระดับท้องถิ่น
  • photo ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการบูรณาการระบบอาหารในระดับท้องถิ่นประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการบูรณาการระบบอาหารในระดับท้องถิ่น

คุณภาพกิจกรรม : 4

วัตถุประสงค์

1.เพื่อการเรียนรู้และทำความเข้าใจรูปแบบการจัดการอาหารในระดับตำบลในด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย

2.เพื่อสร้างความร่วมมือและสร้างเครือข่ายการทำงานเพื่อการจัดการระบบอาหารในจังหวัดสงขลา 3.เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถขับเคลื่อนให้เกิด

กิจกรรมตามแผน

1.เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดการระบบอาหาร

2.การจัดทำเป้าหมาย แผน และโครงการโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นแผนปฏิบัติการของท้องถิ่นและกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น

3.มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสรุปบทเรียนและแนวทางการดำเนินงาน

วิธีการดำเนินงาน 1.จัดอบรมจำนวน 1 วัน แบ่งการอบรมเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 70 อปท. อปท.ละ 2 คน
กลุ่มเป้าหมาย ผู้บริหารท้องถิ่น ได้แก่ นายก อบต.หรือเทศบาล / ปลัด / รองปลัด / ผอ.กองสาธารณสุข / ผอ.กองการศึกษา

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

1.เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดการระบบอาหาร

2.การจัดทำเป้าหมาย แผน และโครงการโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นแผนปฏิบัติการของท้องถิ่นและกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น

3.มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสรุปบทเรียนและแนวทางการดำเนินงาน

วิธีการดำเนินงาน 1.จัดอบรมจำนวน 1 วัน แบ่งการอบรมเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 70 อปท. อปท.ละ 2 คน
กลุ่มเป้าหมาย ผู้บริหารท้องถิ่น ได้แก่ นายก อบต.หรือเทศบาล / ปลัด / รองปลัด / ผอ.กองสาธารณสุข / ผอ.กองการศึกษา

ผลตามแผน

1.เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดการระบบอาหาร

2.การจัดทำเป้าหมาย แผน และโครงการโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นแผนปฏิบัติการของท้องถิ่นและกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น

3.มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสรุปบทเรียนและแนวทางการดำเนินงาน

วิธีการดำเนินงาน 1.จัดอบรมจำนวน 1 วัน แบ่งการอบรมเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 70 อปท. อปท.ละ 2 คน
กลุ่มเป้าหมาย ผู้บริหารท้องถิ่น ได้แก่ นายก อบต.หรือเทศบาล / ปลัด / รองปลัด / ผอ.กองสาธารณสุข / ผอ.กองการศึกษา

ผลที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 161 คน จำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 93 แห่ง ประกอบด้วยผู้บริหารท้องถิ่นตำแหน่ง นายกอปท. ปลัด ผู้อำนวยการกองการศึกษา นักวิชาการศึกษา ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และครูผู้ดูแลเด็ก

1.กิจกรรรมการบรรยาย

1.1.การชี้แจงนโยบายท้องถิ่นกับการจัดการบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการ โดยนายอนุรัฐ ไทยตรง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายอนุรัฐ ไทยตรง ได้กล่าวถึงบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการด้านสุขภาพ และการบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ

1.2.การบรรยายเรื่องการจัดการบูรณาการระบบอาหารในระดับชาติและระดับพื้นที่ โดยอาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ บรรยายเรื่องกระบวนทัศน์ใหม่การขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพ และ เรื่องเด็กอ้วน เด็กผอม ล้วนเป็นปัญหาของชาติ เนื้อหาการบรรยายประกอบด้วย 1) ปัญหาด้านภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ และภาวการณ์ขาดสารอาหาร ยังเป็นปัญหาด้านสุขภาพของเด็กไทย 2) ปัญหาการกินผัก และผลไม้ไม่เพียงพอ
3) ปัญหาน้ำหนักเกิน อ้วน 4) ปัญหาขาดกิจกรรมทางกาย 5) ปัญหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่สามารถส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการเนื่องมาจากสาเหตุ - ประชาชนไม่ตระหนักในปัญหาสุขภาพ - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดทักษะความรู้ และทักษะการจัดการด้านงานส่งเสริมสุขภาพ 6) การกระจายอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการด้านสุขภาพ กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล เป็นแนวทางให้เกิดการจัดการแผนสุขภาพของชุมชน แต่พบว่างานโภชนาการยังบรรจุในแผนสุขภาพน้อยมาก 7) การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ตระหนักและยอมรับปัญหาโภชนาการ โดยทำให้เกิดนโยบายสาธารณะ และโครงสร้างรวมทั้งระบบการบริหารจัดการงานโภชนาการ การสนับสนุนองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านโภชนาการ และการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคลากรให้จัดการงานโภชนาการ 8) สถานการณ์สุขภาพของเด็กไทย - ไม่กินอาหารเช้า หรืออาหารเช้าขาดคุณภาพ - อาหารกลางวันคุณภาพต่ำ เมนูอาหารกลางวัน อาหารว่างให้พลังงานสูง - อาหารว่างเน้นหวาน มัน เค็ม - การปฏิเสธการกินผัก หรือกินกนผักและผลไม้ไม่พียงพอตามเกณฑ์ที่กำหนด
- การละทิ้งอาหารไทย - ปัญหาเด็กอ้วน เป็นปัญหาให้เกิดโรคเรื้อรัง - ปัญหาเด็กผอมเตี้ย ผลกระทบด้านสติปัญญา (IQ ต่ำ) - ปัญหา IQ EQ - ปัญหาขาดไอโอดีนและธาตุเหล็ก 3. แนวทางการขับเคลื่อนผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น โดยนางนิธินาถ ศิริเวช และนายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน สำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 12 สงขลา การบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมาดำเนินงานด้านโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งในปัจจุบันยังมีการดำเนินกิจกรรมด้านนี้น้อยกว่าหลักเกณฑ์ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพกำหนดไว้ 15 % และพบว่ามีเงินกองทุนฯคงค้างที่ไม่ได้เบิกจ่ายในการดำเนินโครงการ

2.กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการบูรณาการอาหารในระดับท้องถิ่น กรณีศึกษาตำบลควนรู ตำบลชะแล้ และตำบลรัตภูมิ โดยมีวิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนได้แก่ นายถั่น จุลนวน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู นายบุญรัตน์ จิตสกุล ผู้อำนวยการกองการศึกษา อบต.รัตภูมิ  นางจิตรา เขาไข่แก้ว ครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลชะแล้ นางวรภัทร ไผ่แก้ว ผู้จัดการตลาดเกษตร ม.อ. ดำเนินรายการโดยนายสินธพ อินทรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม
1. ตำบลควนรู ได้บูรณาการเรื่องความมั่นคงทางอาหารโดยสนับสนุนให้ครัวเรือนดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกร ยกระดับให้ชุมชนมีการทำเรื่องธนาคารอาหาร ธนาคารข้าว ให้เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร จากนั้นมีการเชื่อมโยงแหล่งอาหารในชุมชนทั้งข้าว ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ ไปสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ทำให้มีการจัดการอาหารที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น และช่วยทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในชุมชน สามารถยกระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เกิดการจัดการอาหารกลางวันให้มีคุณภาพตามหลักโภชนาการโดยใช้เมนู INMU School Lunch พัฒนาเป็นครัวกลาง เพื่อให้ทุกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีคุณภาพอาหารเหมือนกัน
2. อบต.รัตภูมิ มีการนำข้อมูลสำรวจพฤติกรรมการบริโภคภาวะโภชนาการและพฤติกรรมสุขภาพเด็กอายุ 6 เดือน-15 ปี ซึ่งสำรวจโดย พญ.รศ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ มาจัดทำแผนแก้ไขภาวะโภชนาการ โดยมีการพัฒนาพื้นที่รอบๆศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนให้มีการจัดทำแปลงเกษตร เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็ก และนำผลผลิตมาจัดขายให้กับแม่ครัวจัดทำเป็นอาหารกลางวัน ส่งเสริมให้แม่ครัวมีการซื้อวัตถุดิบอาหารในชุมชนเพื่อให้เกิดการจัดการอาหารที่ปลอดภัยมากขึ้น

  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลชะแล้ ได้ดำเนินกิจกรรมจัดการระบบการอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเริ่มตั้งแต่เทศบาลได้ยกเลิกการจ้างเหมาแม่ครัว มาให้ครูจัดการซื้อวัตถุดิบและจ้างแม่ครัวเป็นรายวันในการปรุงอาหาร และเทศบาลมีการจัดจ้างภารโรงให้มีการทำแปลงเกษตรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้เป็นแหล่งอาหารกลางวัน ทำให้ลดค่าใช้จ่ายสามารถจัดการอาหารมื้อเช้าเพิ่มให้กับเด็ก มีการประเมินภาวะโภชนาการเด็ก และกิจกรรมเยี่ยมบ้าน

  2. ตลาดเกษตร ม.อ. เป็นแหล่งจำหน่ายผลผลิตการเกษตร และอาหารปรุงสุก ที่มีมาตรฐานความปลอดภัย ยกระดับความรู้และการรวมกลุ่มของเกษตรให้มีความเข้มแข็ง และกำลังพัฒนาให้เป็นแหล่งรวมรวบและกระจายผลผลิตของจังหวัดสงขลา หากท้องถิ่นมีความต้องการยกระดับตลาดในท้องถิ่นให้มีความปลอดภัยสามารถให้ตลาดเกษตร ม.อ. เป็นพี่เลี้ยง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถติดต่อเรื่องวัตถุดิบการเกษตรในการจัดการอาหารกลางวันได้ด้วย สรุปแนวคิดรูปแบบการจัดการระบบอาหารในระดับท้องถิ่น โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ พบว่า กระบวนการดำเนินงานมีดังนี้ 1.ธนาคารอาหาร ตั้งแต่การทำธนาคารพันธุ์ข้าว ผัก ผลไม้ ธนาคารปู ธนาคารปลา 2.การเพิ่มพื้นที่อาหารตั้งแต่ระดับครัวเรือน โรงเรียน ชุมชน มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเกษตรอินทรีย์ 3.การเพิ่มมูลค่า เช่น การพัฒนาเรื่องตลาด การรวมกลุ่มผลิต การแปรรูปและการจำหน่าย 4.การสร้างตลาดอาหารปลอดภัย และโภชนาการ 5.ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค 6.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน มีการดำเนินกิจกรรมพัฒนาพื้นที่ผลิตอาหาร ใช้วัตถุดิบในชุมชนที่ปลอดภัย ใช้เมนูโภชนาการที่เหมาะสม มีครัวกลาง การติดตามภาวะโภชนาการ กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลี้ยงดู และพฤติกรรมสุขภาพเด็ก และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคในครัวเรือน โรงเรียน ชุมชน

จากกระบวนการดำเนินกิจกรรมทำให้เกิดเป้าประสงค์ 1.การมีศักยภาพผลิตอาหารเพียงพอ เพราะเกิดการจัดการดิน น้ำ ชนิดและปริมาณพืช สัตว์ที่ผลิตและหาได้ 2.การเข้าถึงอาหาร เกิดการเพาะพันธุ์ การเข้าถึงแหล่งอาหารธรรชาติ การตลาด 3. การใช้ประโยชน์จากอาหาร มีการแปรรูป เกิดการสร้างรายได้เพิ่มในชุมชน การได้รับประโยชน์จากสารอาหารครบถ้วน 4. การมีเสถียรภาพทางอาหาร มีแหล่งเมล็ดพันธุ์พืช พันธ์สัตว์ ธนาคารอาหาร ศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตร ด้านอาหาร 5. ความปลอดภัยด้านอาหาร มีเกษตรอินทรีย์ From Farm to Table

แนวทางการขับเคลื่อนการจัดการบูรณาการระบบอาหารในระดับท้องถิ่น ที่ประชุมมีข้อเสนอให้มีการพัฒนาโครงการการบูรณาการระบบอาหารในระดับท้องถิ่น โดยสถาบันการจัดการระบบสุขภาพจะออกแบบฟอร์มการเขียนกรอบแนวคิดโครงการและประสานให้สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสงขลาได้ประสานต่อไปยังองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น จากนั้นจะมีการจัดกระบวนการเติมเต็มโครงการให้มีความสมบูรณ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อโครงการได้รับการปรับปรุงจะให้มีการขับเคลื่อนโดยใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
25 พฤศจิกายน 2559 เวลา 10:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยwannawannaเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2559 18:47:55
Project trainer
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 9 ธันวาคม 2559 08:51:05 น.

ชื่อกิจกรรม : พิจารณากำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านอาหารและโภชนาการ

  • photo พิจารณากำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านอาหารและโภชนาการพิจารณากำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านอาหารและโภชนาการ
  • photo พิจารณากำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านอาหารและโภชนาการพิจารณากำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านอาหารและโภชนาการ

คุณภาพกิจกรรม : 4

วัตถุประสงค์

เพื่อระดมความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดการระบบอาหารแบบบูรณาการในระดับท้องถิ่น และการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างเสริมภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดสงขลา

กิจกรรมตามแผน

ระดมความคิดเห็นต่อกำหนดการประชุมเชิงปฎิบัติการเรื่องการจัดการระบบอาหารแบบบูรณาการในระดับท้องถิ่น และการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างเสริมภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดสงขลา

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

ระดมความคิดเห็นต่อกำหนดการประชุมเชิงปฎิบัติการเรื่องการจัดการระบบอาหารแบบบูรณาการในระดับท้องถิ่น และการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างเสริมภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดสงขลา

ผลตามแผน

ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย อาจารย์สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา ผอ.กองการศึกษาเทศบาลเมืองคลองแห นักวิชาการพัฒนาชุมชน ได้ระดมความเห็นเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมประชุมโดยเรื่องการจัดการระบบอาหารแบบบูรณาการในระดับท้องถิ่น ต้องเป็นผู้บริหารท้องถิ่น ได้แก่ นายก ปลัด ผอ.กอง หรือสำนักการศึกษา หรือสาธารณสุข ส่วนเรื่องการจัดการภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรเป็นผอ.กองการศึกษา และหัวศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมีข้อเสนอแนะให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานในการติดตามการดำเนินงานหลังจากที่ อปท. ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการไปแล้ว สามารถนำความรู้ไปใช้ในการกำหนดแผนงานหรือโครงการหรือไม่ รวมทั้งการประชุมทั้ง 2 เรื่องควรมีการจัดนิทรรศการให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เห็นโมเดลจริงๆ

ผลที่เกิดขึ้นจริง

เกิดการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันการจัดการระบบสุขภาพและสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดในการขับเคลื่อนเรื่องการทำงานบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการในระดับท้องถิ่น

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
22 พฤศจิกายน 2559 เวลา 11:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยwannawannaเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2559 17:44:28
Project trainer
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 9 ธันวาคม 2559 08:19:10 น.

ชื่อกิจกรรม : ปรึกษากับท้องถิ่นจังหวัดเรื่องการบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการ

  • photo ปรึกษากับท้องถิ่นจังหวัดเรื่องการบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการปรึกษากับท้องถิ่นจังหวัดเรื่องการบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการ
  • photo ปรึกษากับท้องถิ่นจังหวัดเรื่องการบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการปรึกษากับท้องถิ่นจังหวัดเรื่องการบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการ

คุณภาพกิจกรรม : 4

วัตถุประสงค์

เพื่อระดมความคิดเห็นความร่วมมือการขับเคลื่อนการจัดการระบบอาหารแบบบูรณาการในระดับท้องถิ่น

กิจกรรมตามแผน

ระดมความคิดเห็นกับท้องถิ่นจังหวัด เรื่องการผลักดันการทำงานบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการในระดับท้องถิ่น

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

ระดมความคิดเห็นกับท้องถิ่นจังหวัด เรื่องการผลักดันการทำงานบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการในระดับท้องถิ่น

ผลตามแผน

ประชุมร่วมกับท้องถิ่นจังหวัดสงขลา บุคลากรของสำนักงานท้องถิ่น ในประเด็นการขับเคลื่อนการทำงานบูรณาการการด้านอาหารและโภชนาการในระดับท้องถิ่น ซึ่งที่ประชุมมีข้อเสนอในประเด็น
1.ต้องทำความเข้าใจกับผู้บริหารท้องถิ่น บุคลากร ในเรื่องกรอบแนวคิดการทำงานเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภับและโภชนาการ 2.สังเคราะห์โมเดลของตำบลควนรูว่ามีวิธีการดำเนินงานอย่างไรในเรื่องการบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการ 3.ควรมีการติดตามประเมินผล ว่าท้องถิ่นมีการจัดทำแผนงาน หรือโครงการในด้านอาหารและโภชนาการมากน้อยแค่ไหน หลังจากผ่านการปรชุมเชิงปฏิบัติการ

ผลที่เกิดขึ้นจริง

ได้ออกแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการใน 2 เรื่องเพื่อเสริมศักยภาพให้กับผู้บริหารท้องถิ่น บุคลากร ได้แก่ 1.การจัดการระบบอาหารแบบบูรณาการในระดับท้องถิ่น
2.การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างเสริมภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดสงขลา วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน 1.เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และทำความเข้าใจในการจัดการบูรณาการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย และการจัดการภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2.การจัดทำเป้าหมาย แผน โครงการให้เป็นแผนปฏิบัติการของท้องถิ่นและกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
19 ตุลาคม 2559 เวลา 13:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยwannawannaเมื่อ 21 ตุลาคม 2559 10:26:52
Project trainer
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2559 10:48:54 น.

ชื่อกิจกรรม : กิจกรรม นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ลงพื้นที่ห้องเรียนชุมชนตำบลชะแล้

  • photo กิจกรรม นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ลงพื้นที่ห้องเรียนชุมชนตำบลชะแล้กิจกรรม นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ลงพื้นที่ห้องเรียนชุมชนตำบลชะแล้
  • photo กิจกรรม นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ลงพื้นที่ห้องเรียนชุมชนตำบลชะแล้กิจกรรม นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ลงพื้นที่ห้องเรียนชุมชนตำบลชะแล้
  • photo กิจกรรม นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ลงพื้นที่ห้องเรียนชุมชนตำบลชะแล้กิจกรรม นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ลงพื้นที่ห้องเรียนชุมชนตำบลชะแล้
  • photo กิจกรรม นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ลงพื้นที่ห้องเรียนชุมชนตำบลชะแล้กิจกรรม นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ลงพื้นที่ห้องเรียนชุมชนตำบลชะแล้

คุณภาพกิจกรรม : 4

วัตถุประสงค์

เพื่อให้นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ศึกษาชุมชนต้นแบบด้านการจัดการระบบสุขภาพ

กิจกรรมตามแผน

ให้นักศึกษาเรียนรู้ชุมชนต้นแบบ ในหัวข้อ 1. ประวัติชุมชน 2. แผนผังองค์กรชุมชน 3. กิจกรรมเด่นของชุมชน 4. ระบบสุขภาพชุมชน 5. การสร้างเสริมสุขภาพ 6. การค้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยา 7. สาธารณสุขมูลฐาน 8. ปัญหาสาธารณสุขในชุมชน

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

แบ่งกลุ่มนักศึกษา ออกเป็น 5 กลุ่ม เพื่อเรียนรู้ด้านการจัดการระบบสุขภาพ 1. แหล่งเรียนรู้ธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ 2. แหล่งเรียนรู้การจัดการระบบอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ 3. แหล่งเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยเรือรัง 4. แหล่งเรียนรู้หมอพื้นบ้าน หมอจ้ำ และหมอพรั่ง 5. แหล่งเรียนรู้เกษตรผสมผสาน

ผลตามแผน

แบ่งกลุ่มนักศึกษา ออกเป็น 5 กลุ่ม เพื่อเรียนรู้ด้านการจัดการระบบสุขภาพ 1. แหล่งเรียนรู้ธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ 2. แหล่งเรียนรู้การจัดการระบบอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ 3. แหล่งเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยเรือรัง 4. แหล่งเรียนรู้หมอพื้นบ้าน หมอจ้ำ และหมอพรั่ง 5. แหล่งเรียนรู้เกษตรผสมผสาน

ผลที่เกิดขึ้นจริง

นักศึกษาได้เรียนรู้การจัดการระบบสุขภาพในแต่ละด้าน จากวิทยากรในพื้นที่ ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการสุขภาพของชุมชนมากขึ้น

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
8 ตุลาคม 2559 เวลา 08:30 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยwannawannaเมื่อ 10 ตุลาคม 2559 09:57:42
Project trainer
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 19 มกราคม 2560 15:47:18 น.

ชื่อกิจกรรม : อบรมการจัดอาหารกลางวันให้ได้มาตรฐาน อาหารปลอดภัย และหลักสุขาภิบาลอาหาร

  • photo อบรมการจัดอาหารกลางวันให้ได้มาตรฐาน อาหารปลอดภัย และหลักสุขาภิบาลอาหารอบรมการจัดอาหารกลางวันให้ได้มาตรฐาน อาหารปลอดภัย และหลักสุขาภิบาลอาหาร
  • photo อบรมการจัดอาหารกลางวันให้ได้มาตรฐาน อาหารปลอดภัย และหลักสุขาภิบาลอาหารอบรมการจัดอาหารกลางวันให้ได้มาตรฐาน อาหารปลอดภัย และหลักสุขาภิบาลอาหาร
  • photo อบรมการจัดอาหารกลางวันให้ได้มาตรฐาน อาหารปลอดภัย และหลักสุขาภิบาลอาหารอบรมการจัดอาหารกลางวันให้ได้มาตรฐาน อาหารปลอดภัย และหลักสุขาภิบาลอาหาร
  • photo อบรมการจัดอาหารกลางวันให้ได้มาตรฐาน อาหารปลอดภัย และหลักสุขาภิบาลอาหารอบรมการจัดอาหารกลางวันให้ได้มาตรฐาน อาหารปลอดภัย และหลักสุขาภิบาลอาหาร

คุณภาพกิจกรรม : 3

วัตถุประสงค์

เพื่อให้คุณครูของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของพื้นที่ตำบลที่ทำงานภายใต้โครงการบูรณาการด้าอาหารและโภชนาการมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการจัดการอาหารกลางวันให้มีคุณภาพถูกหลักโภชนาการ และให้มีความรู้เรื่องการจัดการอาหารที่ปลอดภัย ถูกหลักสุขาภิบาลอาหารในการปรุงอาหารกลา

กิจกรรมตามแผน

  1. อบรมเรื่องการจัดอาหารกลางวันของโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ถูกหลักโภชนาการ
  2. อบรมเรื่องการจัดอาหารกลางวันของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ให้มีความปลอดภัยและถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

  1. อบรมเรื่องการจัดอาหารกลางวันของโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ถูกหลักโภชนาการ
  2. อบรมเรื่องการจัดอาหารกลางวันของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ให้มีความปลอดภัยและถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร

ผลตามแผน

มีผู้เข้าร่วมอบรมซึ่งประกอบด้วยครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน ที่มาจากตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ และตำบลสิงหนคร อำเภอสิงหนคร รวมจำนวน 45 คน โดยมี ผศ.ดร.ลักษณา ไชยมงคล และ ดร.ธรรมรัตน์ แก้วมณี ภาควิชาวิทยาศาสตร์และอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นวิทยากรในการอบรมให้ความรู้

ผลที่เกิดขึ้นจริง

มีผู้เข้าร่วมอบรมซึ่งประกอบด้วยครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน ที่มาจากตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ และตำบลสิงหนคร อำเภอสิงหนคร รวมจำนวน 45 คน โดยมี ผศ.ดร.ลักษณา ไชยมงคล และ ดร.ธรรมรัตน์ แก้วมณี ภาควิชาวิทยาศาสตร์และอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นวิทยากรในการอบรมให้ความรู้

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
27 กันยายน 2559 เวลา 08:30 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยwannawannaเมื่อ 10 ตุลาคม 2559 13:25:33
Project trainer
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2559 10:50:38 น.

ชื่อกิจกรรม : อบรมหลักสูตรสุขาภิบาลอาหาร ให้กับผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร

  • photo ประเมินร้านจำหน่ายอาหารประเมินร้านจำหน่ายอาหาร
  • photo คุณอาสีนะ ยามาเจริญ บรรยายเรื่องอาหารปลอดภัยคุณอาสีนะ ยามาเจริญ บรรยายเรื่องอาหารปลอดภัย
  • photo ประเมินร้านจำหน่ายอาหารประเมินร้านจำหน่ายอาหาร
  • photo อบรมหลักสูตรสุขาภิบาลอาหาร ให้กับผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารอบรมหลักสูตรสุขาภิบาลอาหาร ให้กับผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร
  • photo คุณสุกัญดา เหมืองทอง ให้ความรู้เรื่องหลักสุขาภิบาลอาหารคุณสุกัญดา เหมืองทอง ให้ความรู้เรื่องหลักสุขาภิบาลอาหาร
  • photo คุณวรภัทร ไผ่แก้ว แลกเปลี่ยนการดำเนินงานเรื่องตลาดเกษตร ม.อ.คุณวรภัทร ไผ่แก้ว แลกเปลี่ยนการดำเนินงานเรื่องตลาดเกษตร ม.อ.

คุณภาพกิจกรรม : 3

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ความรู้เรื่องการจัดการสุขาภิบาลอาหาร ให้กับผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และผู้ประกอบการร้านอาหารในโรงเรียน

กิจกรรมตามแผน

ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารกับผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และผู้ประกอบการร้านอาหารในโรงเรียน รวมทั้งบุคลากรในโรงเรียน รวมจำนวน 150 คน โดยจัดอบรมที่ห้างอาเชียนพลาซ่า หาดใหญ่

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารกับผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และผู้ประกอบการร้านอาหารในโรงเรียน รวมทั้งบุคลากรในโรงเรียน รวมจำนวน 150 คน โดยจัดอบรมที่ห้างอาเชียนพลาซ่า หาดใหญ่

ผลตามแผน

ผู้ประกอบร้านอาหารจากห้างกรีนเวย์หาดใหญ่ ห้างอาเซียนพลาซ่า ผู้ประกอบการในโรงเรียนศรีนครมูลนิธิ วิทยาลัยเทคโนโลยีนครหาดใหญ่ วิทยาลัยอุดมศึกษาพาณิชยการ วิทยาลัยหาดใหญ่อำนวยวิทย์  โรงเรียนพาณิชยการหาดใหญ่ โรงเรียนคุณธรรมวิทยา รวมผู้เข้ารับการอบรม 150 คน นอกจากนี้ได้เชิญคุณวรภัทร ไผ่แก้ว  มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการตลาดเกษตร ม.อ.

ผลที่เกิดขึ้นจริง

ร่วมกับเทศบาลนครหาดใหญ่ ได้ร่วมกันประเมินร้านจำหน่ายอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โดยลงพื้นที่เก็บข้อมูลทางกายภาพก่อนให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และผู้ประกอบการในโรงเรียน เข้ารับการอบรมความรู้เรื่องการจัดการสุขาภิบาลอาหารในวันที่ 27 กันยายน 2559

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
9 กันยายน 2559 เวลา 10:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยwannawannaเมื่อ 13 กันยายน 2559 17:13:36
Project trainer
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 13 กันยายน 2559 17:36:16 น.

ชื่อกิจกรรม : ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการบูรณาการอาหารและโภชนาการระดับตำบล ตำบลเชิงแส อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา

  • photo
  • photo
  • photo

คุณภาพกิจกรรม : 3

วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานในงวดที่ 1

กิจกรรมตามแผน

ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานงวดที่ 1

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่สนับสนุนการดำเนินกิจกรรม โดยการให้คำแนะนำการบริหารกิจกรรม และการเงิน

ผลตามแผน

ลงพื้นที่สนับสนุนการดำเนินกิจกรรม โดยการให้คำแนะนำการบริหารกิจกรรม และการเงิน

ผลที่เกิดขึ้นจริง

1.ปรับแผนกิจกรรมโดยให้สนับสนุนให้กับโรงเรียนบ้านรัดปูน และโรงเรียนชุมชนวัดเชิงแส ในการทำกิจกรรม อย.น้อย โดยสนับสนุนให้พื้นที่ละ 10,000 บาท

2.สนับสนุนโครงการเกษตรเพื่อการเรียนรู้ใน ศพด.บ้านเชิงแส และกิจกรรมเรื่องการติดตามภาวะโภชนาการเด็ก และจัดการระบบอาหารกลางวันให้มีคุณภาพโดยภายในเทอมหน้าให้มีการรับซื้อข้าวอินทรีย์จากเกษตรในพื้นที่

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
8 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยwannawannaเมื่อ 8 กันยายน 2559 15:13:43
Project trainer
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 12 กันยายน 2559 20:49:39 น.

ชื่อกิจกรรม : ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการบูรณาการอาหารและโภชนาการระดับตำบล ตำบลรัตภูมิ อ.ควนเนียง จ.สงขลา

  • photo ศพด. วัดควนเนียง ใช้ข้าวในชุมชนที่ครูปลูกเองศพด. วัดควนเนียง ใช้ข้าวในชุมชนที่ครูปลูกเอง
  • photo แปลงผักหน้า ศพด.ปากบางภูมีแปลงผักหน้า ศพด.ปากบางภูมี
  • photo เมนูอาหารกลางวัน ประกอบด้วยผัก ตับ เลือด และเนื้อเมนูอาหารกลางวัน ประกอบด้วยผัก ตับ เลือด และเนื้อ
  • photo การใช้พื้นที่บริเวณโรงเรียนวัดคงคาวดีเป็นแปลงผักการใช้พื้นที่บริเวณโรงเรียนวัดคงคาวดีเป็นแปลงผัก
  • photo บริเวณหน้าห้องเรียนโรงเรียนวัดคงคาวดีบริเวณหน้าห้องเรียนโรงเรียนวัดคงคาวดี
  • photo การใช้ผลไม้ในชุมชนการใช้ผลไม้ในชุมชน
  • photo เมนูอาหารกลางวันที่ออกล่วงหน้าเป็นรายสัปดาห์เมนูอาหารกลางวันที่ออกล่วงหน้าเป็นรายสัปดาห์
  • photo แม่ครัว ศพด.ปากบางภูมีแม่ครัว ศพด.ปากบางภูมี
  • photo ห้องทานอาหารที่จัดบริเวณให้มีสื่อการเรียนรู้ห้องทานอาหารที่จัดบริเวณให้มีสื่อการเรียนรู้
  • photo เมนูล่วงหน้ารายเดือนเมนูล่วงหน้ารายเดือน

คุณภาพกิจกรรม : 4

วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ

กิจกรรมตามแผน

1.ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน 2. ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

1.ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน 2. ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ

ผลตามแผน

1.ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน 2. ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ

ผลที่เกิดขึ้นจริง

ได้ดำเนินกิจกรรมปรับปรุงระบบเกษตรในโรงเรียน และการจัดการอาหารกลางวัน จำนวน 7 แห่ง ทุกที่จะใช้โปรแกรมออกเมนูล่วงหน้า และใช้วัตถุดิบในชุมชนเป็นหลักทั้งผัก ผลไม้ และข้าว  ศพด. วัดควนเนียง มีการใช้ข้าวที่ครูปลูกเอง ให้คำแนะนำในการเพิ่มข้าวซ้อมมือผสมด้วย การติดตามโภชนาการ มีเด็กอ้วน 1 คน แม่ครัวเมื่อผ่านการอบรมเรื่องโภชนาการได้นำเสนอให้อบต.ปรับปรุงโรงครัวให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร จะเสร็จสิ้นในเทอมหน้าศพด.บ้านปากบางภูมี จัดซื้ออาหารในตลาดเช้าของชุมชน ทั้งผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ปลา ส่วนข้าวยังซื้อข้าวจากบริษัท และให้คำแนะนำให้ซื้อจากแหล่งเดียวกัน ศพด.วัดควนเนียง ที่นี่จะไม่มีเมนูเลือดเพราะมีมุสลิมร่วมด้วย แต่มีเมนูตับ มีการจัดอาหารว่างนมเพิ่มให้กับเด็กที่มีภาวะเตี้ย มีการรับบริจาคตู้เย็นจากวัดเพื่อจัดการแช่นมโรงเรียน ส่วนโรงเรียนวัดคงคาวดี มีการปรับปรุงบริเวณหน้าห้องเรียนและใต้ต้นไม้ให้เป็นสวนผัก บริเวณข้างรั้วโรงเรียน สามารถนำผลผลิตที่ได้ขายกับแม่ครัวและนำเงินมาซื้อเมล็ดพันธุ์ผักต่อ มีการประยุกต์เรื่องเกษตรในโรงเรียนเป็นการเรียนรู้ให้กับเด็ก คุณครูบอกว่าเด็กเปลี่ยนพฤติกรรม เพราะมีการช่วยกันดูแลแปลงเกษตร และชอบสภาพแวดล้อมใหม่คะ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
7 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยwannawannaเมื่อ 8 กันยายน 2559 13:40:00
Project trainer
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 8 กันยายน 2559 15:12:21 น.

ชื่อกิจกรรม : ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการบูรณาการอาหารและโภชนาการระดับตำบล ตำบลชะแล้ และเทศบาลสิงหนคร อ.สิงหนคร จ.สงขลา

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

คุณภาพกิจกรรม : 4

วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรมโครงการบูรณาการอาหารและโภชนาการระดับตำบล

กิจกรรมตามแผน

  1. ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน
  2. การตรวจสอบเอกสารการใช้จ่ายงบประมาณ

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

  1. ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน
  2. การตรวจสอบเอกสารการใช้จ่ายงบประมาณ

ผลตามแผน

  1. ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน
  2. การตรวจสอบเอกสารการใช้จ่ายงบประมาณ

ผลที่เกิดขึ้นจริง

  1. เทศบาลชะแล้ มีการดำเนินงานปรับปรุงซ่อมแซมฟาร์มทะเล การจัดการระบบเกษตรในโรงเรียนวัดชะแล้ ศพด. และโรงเรียนชะแล้นิมิตรวิทยา สำหรับวัตถุดิบผักและผลไม้จะซื้อจากในชุมชนเป็นหลักบวกกับโครงการเกษตรในโรงเรียน ส่วนข้าวได้จัดซื้อจากโรงสีในชุมชน มีการออกเมนูอาหารโดยใช้โปรแกรม และปรับปรุงให้เข้ากับวัตถุดิบที่มีในชุมชนคะ ศพด.จะดำเนินโครงการขยะแลกไข่กับผู้ปกครองเด็ก และติดตามเยี่ยมบ้าน ในเด็กกลุ่มเตี้ย 6 คน กิจกรรม อย.น้อยในโรงเรียนวัดชะแล้
  2. เทศบาลสิงหนคร มีการสนับสนุนงบประมาณให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 8 แห่งมีการดำเนินงานเรื่องการเกษตรเพื่อการเรียนรู้และการจัดการระบบอาหารกลางวัน ทั้งเรื่องเมนูอาหารและคุณภาพ วัตถุดิบของอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
18 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยdezinedezineเมื่อ 29 สิงหาคม 2559 20:26:48
Project creater
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 29 พฤษภาคม 2560 15:20:30 น.

ชื่อกิจกรรม : จังหวัดนครศรีธรรมราชดูงานตำบลบูรณาการตำบลควนรู

  • photo จังหวัดนครศรีธรรมราชดูงานตำบลบูรณาการตำบลควนรูจังหวัดนครศรีธรรมราชดูงานตำบลบูรณาการตำบลควนรู
  • photo จังหวัดนครศรีธรรมราชดูงานตำบลบูรณาการตำบลควนรูจังหวัดนครศรีธรรมราชดูงานตำบลบูรณาการตำบลควนรู
  • photo จังหวัดนครศรีธรรมราชดูงานตำบลบูรณาการตำบลควนรูจังหวัดนครศรีธรรมราชดูงานตำบลบูรณาการตำบลควนรู
  • photo จังหวัดนครศรีธรรมราชดูงานตำบลบูรณาการตำบลควนรูจังหวัดนครศรีธรรมราชดูงานตำบลบูรณาการตำบลควนรู
  • photo จังหวัดนครศรีธรรมราชดูงานตำบลบูรณาการตำบลควนรูจังหวัดนครศรีธรรมราชดูงานตำบลบูรณาการตำบลควนรู

คุณภาพกิจกรรม : 4

วัตถุประสงค์

เพื่อขยายผลตำบลบูรณาการจากจังหวัดสงขลาสูาจังหวัดนครศรีธรรมราช

กิจกรรมตามแผน

ดูงานตำบลบูรณาการ ณ องค์การบริหาร่วนตำบลควนรู

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

  • ฟังบรรยายสรุปจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู
  • ดูงานการใช้โปรแกรมการจัดากรอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ Thai school lunch ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลูกรัก

  • ดูงานการทำเกษตรผสมสาน ณ สวนของ ดาบตำรวจเจริญ

  • รับประทานอาหารกลางวันแบบปิ่่นโตสายใยรักชุมชน ณ ศูนย์การเรียนรู้หนองเสาธง

  • ดูงานการทำเกษตรปราณีตในครัวเรือน ของนายสวัสดิ์ สุวรรณรัตน์

ผลตามแผน

ผู้เข้าร่วมจากองคฺ์การบริหารส่วนตำบลหูล่อง อ ปากพนัง องค์การบริหารส่วนตำบลไสร้า เทศบาลตำบลจันดี อำเภอฉวาง องค์การบริหารส่วนตำบลเขาแก้ว อำเภอลานสกา และองค์การบริหารส่วนตำบลนางหลวงอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 25 คน ได้เข้าร่วมศึกษาดูงาน - ฟังบรรยายสรุปจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู - ดูงานการใช้โปรแกรมการจัดากรอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ Thai school lunch ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลูกรัก

  • ดูงานการทำเกษตรผสมสาน ณ สวนของ ดาบตำรวจเจริญ

  • รับประทานอาหารกลางวันแบบปิ่่นโตสายใยรักชุมชน ณ ศูนย์การเรียนรู้หนองเสาธง

  • ดูงานการทำเกษตรปราณีตในครัวเรือน ของนายสวัสดิ์ สุวรรณรัตน์

ผลที่เกิดขึ้นจริง

  • ท้องถิ่นที่มาจากนครศรีธรรมราชเกิดความรู้ ความเข้าใจ และแนวคิดในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จจากองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู

  • ผู้เข้าร่วมเกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาท้องถิ่นตัวเอง

  • เกิดระบบความเชื่อมโยงในการขยายงานความมั่นคงทางอาหารจากจังหวัดสงขลาสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
30 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยdezinedezineเมื่อ 12 กรกฎาคม 2559 17:42:34
Project creater
แก้ไขโดย dezine เมื่อ 17 สิงหาคม 2559 16:16:29 น.

ชื่อกิจกรรม : ประชุมพัฒนาศักยภาพตำบลบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการ เรื่องการจัดทำแผนที่ระบบอาหารชุมชน

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

คุณภาพกิจกรรม : 3

วัตถุประสงค์

เพื่อให้แต่ละเครือข่ายเกิดการเรียนรู้เรื่องการจัดทำแผนที่อาหาร

กิจกรรมตามแผน

  • นักศึกษาปริญญาโทสอบป้องกันวิทยานิพนธ์เรื่องรูปแบบความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ควนรูและชะแล้
  • นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาร่วมระดมสมองและหาแนวทางการพัฒนา
  • เรียนรู้การจัดทำแผนที่ด้วย Google map

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

  • นักศึกษาปริญญาโทสอบป้องกันวิทยานิพนธ์เรื่องรูปแบบความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ควนรูและชะแล้
  • นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาร่วมระดมสมองและหาแนวทางการพัฒนา
  • เรียนรู้การจัดทำแผนที่ด้วย Google map

ผลตามแผน

-ท้องถิ่นที่เข้าร่วมคือ องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู องค์การบริหารส่วนตำบลรัตภูมิ เทศบาลตำบลชะแล้ เทศบาลตำบลเชิงแส และเทศบาลเมืองสิงหนคร
- ทีมอนุคณะการรมการข้าวอินทรีย์และทีมสื่อฯ จากจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมสังเกตุการร์

ผลที่เกิดขึ้นจริง

  • องค์การบริหารส่วนตำบลควนรูและเทศบาลตำบลชะแล้ทราบข้อมูลผลจากการศึกษารูปแบบความมั่นคงทางอาหาร จากการรายงานผลวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท

  • แต่ละท้องถิ่นเกิดการเรียนรู้เรื่อวการจัดเก็บข้อมูล

  • ท้องถิ่นทราบข้อมูลพื้นฐานของตัวเอง


    -ท้องถิ่นสามารถนำข้อมูลที่มีเป็นประเด็นตั้งต้นในการต่อยอด ขยายผล ไปสู่เรื่องอื่นๆ


    -เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างท้องถิ่น

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
15 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยdezinedezineเมื่อ 24 มิถุนายน 2559 14:01:11
Project creater
แก้ไขโดย dezine เมื่อ 17 สิงหาคม 2559 16:11:39 น.

ชื่อกิจกรรม : ประชุมแลกเปลี่ยนตำบลบูรณาการฯ

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

คุณภาพกิจกรรม : 3

วัตถุประสงค์

เพื่อให้เกิดการดำเนินการด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการที่สมวัย ให้เกิดขึ้นท้องถิ่น

กิจกรรมตามแผน

08:30-09:00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม

09:00-09:20 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารเพื่อสุขภาพประชาชนจังหวัดสงขลา

09:20-09:40 น. องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู นำเสนอการดำเนินงานเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาและแผนการดำเนินงานที่จะทำต่อ

09:40-10:00 น. เทศบาลตำบลชะแล้ นำเสนอการดำเนินงานเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาและแผนการดำเนินงานที่จะทำต่อ

10:00-10:10 น. เทศบาลเมืองสิงหนคร นำเสนอแผนการปฏิบัติการเพื่อการบูรณาการด้านอาหารในพื้นที่เทศบาลเมืองสิงหนคร

10:10-10:20 น. เทศบาลตำบลเชิงแส นำเสนอแผนการปฏิบัติการเพื่อการบูรณาการด้านอาหารในพื้นที่เทศบาลตำบลเชิงแส

10:20-10:30 น. องค์การบริหารส่วนตำบลรัตภูมิ นำเสนอแผนการปฏิบัติการเพื่อการบูรณาการด้านอาหารในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลรัตภูมิ

10:30-11:00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ให้ข้อคิดเห็นการนำเสนอแผนปฎิบัติการฯของแต่ท้องถิ่น

11:00-11:45 น. ดร. เพ็ญ สุขมาก บรรยายเรื่อง “แผนที่ปลา” เพื่อให้แต่ละท้องถิ่นนำไปปรับใช้

11:45-12:00 น. สรุปและปิดการประชุม

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

  • นำเสนอการดำเนินงานของท้องถิ่นเก่าคือ เทศบาลตำบลชะแล้ และองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู
  • ผศ.ดร. พงค์เทพ สุธีรวุฒิให้ข้อเสนอแนะ
  • ดร.เพ็ญ สุขมาก บรรยายเรื่อง “แผนที่ปลา” เพื่อให้แต่ละท้องถิ่นนำไปปรับใช้

ผลตามแผน

  • ทีมองค์การบริหารส่วนตำบลควนรูและเทศบาลตำบลชะแล้นำเสนอผลการดำเนินงาน 2 ปีที่ผ่านมาและวางแผนที่จะดำเนินการในปีต่อไป
  • แต่ละท้องถิ่นนำเสนอแผยการดำเนินงานของตัวเอง

ผลที่เกิดขึ้นจริง

  • องค์การบริหารส่วนตำบลควนรูและเทศบาลตำบลชะแล้ ได้นำเสนอการปฏิบัติงานของตัวเองในปีที่ผ่านมา
  • เทศบาลที่เข้าร่วมโครงการใหม่ คือองค์การบริหารส่วนตำบลรัตภูมิ เทศบาลตำบลเชิงแส และเทศบาลเมืองสิงหนคร เกิดความเข้าใจกระบวนการทำงาน และมีแนวทางการดำเนินการด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการที่สมวัย ให้เกิดขึ้นท้องถิ่น โดยให้มีการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยที่ผลิตขึ้นเองในชุมชน เกิดการกระจายอาหาร จากชุมชนไปสู่โรงเรียน โรงพยาบาลและตลาดชุมชน
  • แต่ละท้องถิ่นถูกกระตุ้นให้เกิด การประยุกต์ใช้โปรแกรมการจัดการอาหารกลางวัน (INMU Thai school Lunch) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน โดยสามารถวางแผนการจัดเมนูอาหารได้ล่วงหน้า
  • จัดให้มีการพัฒนาศักยภาพท้องถิ่นตำบลบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการ ให้มีความพร้อมการจัดทำแผนที่ระบบอาหารชุมชน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่าย
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00

แสดงความคิดเห็นสำหรับบุคคลทั่วไป (สำหรับพี่เลี้ยงโครงการ กรุณาส่งรายงานพี่เลี้ยง)

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง